มะเขือม่วง มีลักษณะที่ยาวกลม มีทั้งผลสีเขียว ม่วง และขาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามแต่ละสายพันธ์ แต่ที่พบมากที่สุดในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นมะเขือยาวสีเขียว ซึ่งมะเขือยาวสีม่วงเองก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กันนะครับ อาจจะน้อยกว่ามะเขือม่วงเล็กน้อย คนไทยนิยมนำไปประกอบเป็นอาหารที่เลิศรสได้หลายๆ อย่าง มีสรรพคุณค่อนข้างมาก วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับมะเขือม่วง การปลูกและการดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวออกมาสู่ท้องตลาดกันดีกว่าครับ
มะเขือม่วง นั้นเป็นพืชข้ามปี ที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นดิน สามารถเติบโตได้ทุกสภาพของดิน แต่มันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีค่าความเป็นกรด ด่าง อยู่ที่ 5.5-6.5 โดยทั่วไปแล้วจะเห็นได้เลยว่ามีการเพาะปลูกแทบทุกภาคของประเทศไทย มะเขือม่วงมีแนวโน้มทีจะเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการดูแลและอัตราการปลูก หรือการรอดง่าย มีผลผลิตที่ดก เกียได้นาน ทุกวันนี้บ้านเราได้มีการพัฒนาส่งออกมะเขือม่วงกันแล้วนั่นเอง
การขยายพันธุ์มะเขือม่วง
สามารถทำได้ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่ง่าย ได้ผลเร็ว สามารถนำไปลงปลูกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีวิธีการเพาะดังต่อไปนี้
1.ขั้นตอนแรกเลย คือให้เกษตรกรทำการขุดดินให้มีความลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร หรือเอาง่ายๆ คือ 1 หน้าจอบที่เราใช้ขุดไปนั่นเองครับ
2.ให้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ลงในแปลง จะนั้นทำการคลุกเคล้าหน้าดินให้ผสมกันกัน
3.จากนั้นทำการย่อยหน้าดิน แล้วยกหน้าดินให้มีขนาดตามความต้องการ ดำเนินการปรับหน้าดินให้เรียบ เพื่อจะได้หว่านเมล็ด
4.วิธีการหว่านเมล็ด เกษตรกรจะต้องใช้วิธีการหว่านแบบทั่วทั้งแปลง แล้วตามกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก
5. จากนั้นให้รดน้ำให้ชุ่ม ใช้เวลาประมาณ25-30 วันจะมีต้นกล้าที่งอก ในช่วงนี้ยังไม่สามารถนำลงแปลงปลูกได้นะครับ ต้องรอจนกว่าต้นกล้าแตกใบจริงประมาณ 2-3 ใบก่อนแล้วค่อยนำลงแปลง
ขั้นตอนในการปลูกมะเขือม่วง
การเตรียมแปลงปลูก
1.ขั้นแรกเลย เกษตรกรจะต้องดำเนินการเตรียมแปลงปลูกด้วยการไถดะ ให้หน้าดินมีความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร ตากน้าดินไว้ประมาณ 7-10 วัน
2.เมื่อครบเวลาในการตากหน้าดินแล้วขั้นตอนต่อไปคือการย่อยหน้าดินให้ละเอียด จากนั้นทำการหวานปุ๋ยหมัก หรือจะใช้เป็นปุ๋ยคอกก็ได้ครับ อัตราส่วนประมาณ 2000 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่
3. ตามด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 30 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ทำการคลุกเคล้าลงในแปลงดิน ก่อนที่จะยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และมีความกว้างประมาณ 120 เซนติเมตร เพื่อที่ต้นกล้าจะได้รับสารอาหารจากทั้งปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปรือปุ๋ยเคมีได้อย่างเต็มที่ จะส่งผลให้ต้นกล้ามีความเจริญเติบโต และแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว
4.ในการเพาะปลุก หรือการนำต้นกล้าปลูกลงดิน เกษตรกรจะต้องเว้นระยะห่างระหว่างต้น 70-80 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวอยู่ที่ 90-100 เซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพุ่มของมะเขือยาวมีขนาดเล็ก ให้พื้นที่ในการปลูกแต่ละต้นไม่มากนัก ดังนั้นจะเห็นได้เลยว่า 1 ไร่สามารถปลูกได้จำนวนหลายต้น
5.ในการคัดเลือกต้นกล้า หรือต้นพันธุ์มะเขือม่วงมาปลุกนั้นควรเลือกต้นกล้าที่มีอายุมากกว่า 35 วันมาทำการเพาะปลูก และจะต้องดูที่ใบจริงของต้นกล้าให้มีประมาณ 2-3 ใบ มาปลูกลงหลุมที่กำหนด กลบดินให้พูนต้น จากนั้นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอดี ไม่ต้องมากจนเกินไป เนื่องจากการได้รับน้ำในปริมาณมากจะส่งผลให้เป็นโรครากเน่าได้เช่นกัน
6.ฤดูการเป็นผล หากเห็นว่าออกดอกและติดผลแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ผลมะเขือม่วงสัมผัสกับดินแนะนำให้เกษตรกรหาไม้มาค้ำไว้
การดูแลรักษามะเขือม่วง
1.หลังจากการปลูกประมาณ 2-3 อาทิตย์แรกนั้นให้ทำการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตราส่วน 1 ต้น ต่อ 1 ช้อนชาทุกๆ 15-20 วัน แต่ต้องระวังอย่าให้ชิดกับโคนต้นมากจนเกินไป ให้มีระยะห่างอยู่ที่ 5-10 เซนติเมตร ในกรณีที่เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปนะครับ ให้ใส่เพียงบางครั้งในปริมาณน้อยๆ
2.ในการให้น้ำจะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ทุกวัน วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น หากเป็นช่วงฤดูฝน แนะนำให้มีการรดน้ำเพียงแค่วันที่ฝนไม่ตกเท่านั้น และควรงดให้น้ำในช่วงที่ต้นมะเขือม่วงกำลังออกดอก และมาให้น้ำต่อในช่วงที่ติดผลไปแล้ว ไม่อย่างนั้นจะทำให้ดอกรวงนั่นเองครับ
3.การพรวนดินและการกำจัดวัชพืช เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากวัชพืชเหล่านั้นคอยแย่งอาหาร ทำให้ต้นกล้าได้รับสารอาหารที่ไม่เต็มที่ เกษตรกรจะต้องรับจัดการให้เร็วที่สุด
โรคที่ต้องพึงระวัง
1.โรคผลแห้งเน่าสีดำ หรือปลายผลสีดำ เป็นโรคที่น่ากลัวเกษตรกรสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการใช้ปูนขาวในการรองก้นหลุมประมาณ 1-2 ช้อนแกง หรือไม่สารถฉีดพ่นธาตุแคลเซียมช่วงระยะติดผลไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
2.โรคใบจุด สามารถป้องกัน หรือแก้ไขได้ด้วยวิธีการใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือที่หาง่ายๆ คือกำมะถันชนิดผลละลายน้ำฉีดในช่วงเช้ามืดที่มีอากาศเย็น หรือตอนเช้า เพียงเท่านี้ก็ปลอดภัยหายห่วงแล้วล่ะจ้า