วิธีปลูกมะขามหวาน พร้อมคำแนะนำในการขายมะขามหวาน

มะขามหวานมีแหล่งกำเนิดมาจากแอฟริกาใต้เขตร้อน มีการนำมาปลูกในประเทศอินเดีย ต่อมามีการแพร่กระจายไปทั่วเอเชียและเมืองในเขตร้อนอื่นๆ ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะขามหวานและมะขามเปี้ยวที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ พบมากที่สุดทางตอนเหนือของประเทศโดยเฉพาะจังหวัดเพชรบูรณ์ รองลงมาในภาคอีสาน และประปรายไปทั่วทั้งประเทศ คาดว่าในอนาคตวันข้างหน้ามะขามหวานจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาสู่ประเทศไม่น้อย

ลักษณะทั่วไปของมะขามหวาน

มะขามหวานเป็นไม่ยืนต้น ขนาดใหญ่ อายุยืนรากลึก ลักษณะของพุ่มเป็นทรงกลมแน่น กิ่งแน่นเหนียวหักโค่นได้ยาก ที่สำคัญต้นมะขามหวานจะค่อยๆสลัดใบในช่วงฤดูร้อนและแตกใบใหม่ขึ้นมาแทน จะออกดอกในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม และเริ่มติดฝักช่วงปลายพฤษภาคม เฝ้าดูอีกประมาณ 6-7 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วจ้า ประมาณปลายธันวาคม-มีนาคม จะเร็วหรือช้าจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะขามหวานนั้นๆ ด้วย รวมไปถึงปริมาณฝน หรือความชื้น

ลักษณะทั่วไปของมะขามหวาน

ใบ มะขามหวานเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ที่เรียงสลับกันยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยใบเล็กขนาด 1-2.5 เซนติเมตร เรียงตัวติดก้านใบใหญ่ตรงข้าม

ดอกเป็นช่อ ความยาวอยู่ที่ 5-16 เซนติเมตร ในหนึ่งช่อประกอบไปด้วยดอกเล็ก 10-15 ดอก เป็นเพสสมบูรณ์กล่าวคือมีทั้งเพศผู้แล้เพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์และติดผลได้ด้วยตัวเอง สำหรับดอกไหนที่ไม่ติดผลก็จะร่วงหล่นลงไปภายใน 2-3 วัน
ผล หรือที่เราเรียกกันว่าฝัก เป็นฝักเดี่ยวยาว มีหลานเมล็ดประมาณ 1-10 เมล็ด ฝักอ่อนจะมีสีเขียวและสะเก็ด จะค่อยๆกลายเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ขึ้น รวมถึงการมีเปลือกที่แยกตัวออกจากเนื้ออย่างเห็นได้ชัดเจน สำหรับฟักของมะขามหวานมีหลายลักษณะดังนี้

1.ฝักดิ่งตรง
2.ฝักดาบ
3.ฝักฆ้องโค้ง
4.ฝักดูก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะขามหวาน

เนื่องจากมะขามหวานเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ทุกสถานที่ ทนแล้ง เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยกว่าพืชชนิดอื่น ไม่ค่อยชอบสถานที่ที่มีน้ำท่วมขัง อย่างไรก็ตามสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการปลูกมะขามหวานจะต้องเป็นดินที่ค่อนข้างเหนียว มีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างกลางๆ หรือค่อนข้างที่จะไปทางด่างเล็กน้อย แต่ควรมีน้ำให้เล็กน้อย สำหรับประเทศไทยสามารถปลูกได้ทุกภาค หากมีการดูแลตามสมควรก็จะให้ผลได้ดีทีเดียว

การปลูกมะขามหวาน

1.มะขามหวานแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลุกที่เรามี ตลอดจนการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกดังนี้
1.1หากเป็นพื้นที่ทีมีดินและน้ำดี ระยะห่างอยู่ที่ 7×7 เมตร ใช้ต้นที่ 32 ต้น หากเป็นระยะ 8×8 เมตรต้นพันธุ์ที่ใช้จะอยู่ที่ 25 ต้น และ 10×10 เมตร ใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 16 ต้น
1.2ถ้าเป็นพื้นที่ที่ดินไม่ดี ระยะที่ปลูก 5×5เมตร ใช้ต้นพันธุ์ 64 ต้น 6×5 ใช้ต้นพันธุ์ 53 หรือจะเป็น 7×7 เมตรและ 8×8 เมตร ก็ได้
2.การเตรียมดิน ก่อนที่จะมีการปลูกเกษตรกรจะต้องกำจัดศัตรูที่มาแย่งสารอาหาร บดบังแสงแดด หรือเป็นอันตรายสำหรับต้นกล้าออกให้หมดเสียก่อน ขนาดความกว้างของหลุมอยู่ที่ 50x50x50 เซนติเมตร หากเป็นดินดีสามารถลดขนาดความกว้างลง แต่ถ้าเป็นดินผสมลูกรังให้เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น จากนั้นทำการผสมดินที่ขุดออกมา 1 ส่วนกับแกลบดิบ หรือเปลือกถั่วลิสงประมาณ 2 ส่วนและปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน เติมกระดูกป่น หรือปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟตประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ถ้าที่เป็นที่ที่มีสภาพเป็นกรดให้เพิ่มเติมปูนขาวประมาณ 0.5 กิโลกรัมเข้าไปด้วย
3.ถึงเวลาแล้วที่จะต้องน้ำต้นกล้ามะขามลงปลูกแล้วอัดดินให้แน่นโดยที่ขอบปากดินจากกระถางอยู่เหนือปากหลุมเล็กน้อยค่อยนำดินมาพูนรอบๆ โคนต้น ใช้ไม้ปักหลักเพื่อยึดให้แน่น ทำการคลุมโคนต้นด้วยเศษหญ้าแห้ง เพื่อป้องกันเหล่าวัชพืชที่ขึ้นมาแซมและรักษาความชื้นของหน้าดิน ช่วงเวลาในการปลูกควรปลูกต้นๆฤดูฝน หรือหากเป็นฤดูอื่นๆ จะต้องรดน้ำเล็กน้อย

การดูแลรักษา

เนื่องจากมะขามหวานเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถให้ผลได้หลังจากปลูกเพียงแค่ 2-3 ปีเท่านั้น ดังนั้นเกษตรกรจะต้องมีการวางแผนเรื่องการบำรุงและการดูแลดังนี้

1.ในช่วง1-2 ปีแรกต้นมะขามหวานยังอ่อนอยู่จะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด มีการรดน้ำอาทิตย์ 2-3 ครั้งในช่วงฤดูแล้ง หรือในช่วงที่ฝนไม่ตก หลังปลูกได้ 2-3 เดือนให้เกษตรกรใช้มีดกรีดถุงพลาสติกที่เกิดจากการทาบกิ่งออก เพราะไม่อย่างนั้นลำต้นส่วนนี้จะไม่โต หรืออาจมีการหักที่รอยต่อได้
2.เกษตรกรจะต้องหมั่นพรวนดิน กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอก และคลุมด้วยหญ้าแห้งทุกครั้งเพื่อรักษาความชื้น ในการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี กระดูกป่น หรือปุ๋ยฟอสเฟต จะต้องดูตามขนาดของพุ่ม และความสมบูรณ์ของดิน
3.ปุ๋ยเคมีจะต้องใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพื่อลำต้นจะได้สมบูรณ์และแข็งแรงก่อนการออกดอก โดยจะให้ใส่สูตร 30-20-10 ไปก่อนแล้วค่อยตามด้วย 15-15-15 ให้ใส่ตามทางเดินรอบๆ โคน ตามแนวของพุ่ม

นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดแต่งกิ่งอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่แสงแดดจะได้ส่องมายังโคนต้น สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ และเพิ่มความสะดวกในการเก็บเกี่ยว ได้อีกด้วย

error: Content is protected !!