สูตรวิธีทำตะโก้ พร้อมคำแนะนำในการขายตะโก้


สูตรขนมตะโก้ สูตรที่ 1

ส่วนผสมสำหรับตัวตะโก้

– แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง
– น้ำกลิ่นมะลิ 3 ถ้วยตวง
– น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
– น้ำใบเตยคั้น 1/2 ถ้วยตวง
– แห้วต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/2 ถ้วยตวง
– กระทงหรือแบบสำหรับใส่ขนม

ส่วนผสมสำหรับหน้าตะโก้

– แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
– กะทิ 2 ถ้วยตวง
– เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีการทำขนมตะโก้

– อย่างแรกเลยในการทำขนมตะโก้ เราจะทำตัวตะโก้ก่อน เริ่มด้วยการผสมส่วนผสมลงในหม้อทั้งแป้งถั่วเขียว, น้ำตาลทราย, น้ำใบเตยและ น้ำกลิ่นมะลิ ทั้งหมดให้เข้าด้วยกัน แล้วนำไปตั้งบนไฟให้ใช้ร้อนปานกลาง จากนั้นก็คนผสมในหม้อมเบา ๆ กวนจนส่วนผสมสุกและมีความข้น
– ให้นำแห้วจีนมาปลอกเปลือกแล้วเตรียมไว้มาต้มเมื่อต้มแห้วจีนจนสุกก็หั่นเป็นลูกเต๋า แล้วไปใส่ในหม้อที่กวนส่วนผสมที่กวนไว้จนสุกและจากนั้นก็ให้ กวนต่ออีกสักครู่ใช้ประมาณประมาณ 10 นาทีแล้วปิดไฟ ทิ้งไว้สักครู่แล้วให้ ตักตัวตะโก้หยอดในกระทงหรือในแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ให้หยอดประมาณครึ่งนึงของแบบ
– ต่อมาเราจะเตรียมทำหน้าตะโก้ ด้วยการผสมแป้งข้าวเจ้า, กะทิ และเกลือป่น เข้าด้วยกันในหม้อขนาดเล็กแล้วก็นำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง แล้วก็กวนจนข้นพอดี จึงปิดไฟ
– แล้วเราจะหยอดหน้าตะโก้ลงบนกระทงหรือแบบให้เต็มแล้วก็ ทิ้งไว้ให้เย็น จัดใส่จานพร้อมรับประทานเป็นของว่าง

สูตรขนมตะโก้ สูตรที่ 2

ส่วนผสม

– แป้งถั่วเขียว 3 ช้อนโต๊ะ
– แป้งข้าวเจ้า300 กรัม
– น้ำตาลทราย 300 กรัม
– หัวกะทิ 200 กรัม
– น้ำสะอาด 1.5 กิโลกรัม
– หางกะทิ 300 กรัม
– เกลือ
– ใบเตยหอม
– แห้ว

วิธีการทำขนมตะโก้

– เราจะเตรียมกระทงใบเตยสำหรับไว้หยอดขนมก่อน ให้นำใบเตยหอมล้างน้ำให้สะอาดจากนั้นก็เช็ดให้แห้ง เราจะใช้ใบเตยยาวประมาณ 5 นิ้ว แบ่งใบเตยออกเป็นขนาดละ 1 นิ้ว แต่ละนิ้วใช้มีดตัดแค่ครึ่งใบ แล้วให้ซ้อนก้นเป็นรูปกระทง จากนั้นก็ใช้ด้ายเย็บ หรือจะใช้ไม้กลัดเล็กกลัดใบเตยที่ซ้อนกันสี่ด้าน ก็จะปิดตรงก้นกระทงพอดี ซึ่งอาจมีรูตรงกลางนิดเดียวก็สามารถนำมาใช้ใส่ขนมได้
– เราจะเริ่มจากการเตรียวแห้ว ให้นำแห้วมาปอกเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด หั่นแห้วเป็นชิ้นเล็ก อาจจะเป็นลูกเต๋าก็ได้ ฝอยๆ ใส่หม้อเก็บไว้
– ขั้นตอนต่อมาเราจะทำตัวตะโก้กัน โดยนำแป้งถั่วเขียวมาละลายในน้ำสะอาด 1 กิโลกรัม หลังจากนั้นให้นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วยกขึ้นตั้งไฟโดยจะใช้ไฟปานกลาง ใช้ไม้พายผลักไปข้างหน้ากลับไปกลับจนเมื่อพอแป้งเริ่มใส ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที แล้วจึงใส่น้ำตาล แล้วก็กวนต่อไปจนใสและมีความข้น แล้วให้ใส่แห้วที่หั่นไว้ ลงไปใช้เวลาอีกสัก 10 – 15 นาที กะให้แป้งสุกก็สามารถยกลง แล้วตักใส่กระทงใบเตยที่เตรียมไว้ ให้หยอดแค่ประมาณครึ่งกระทง
– ขั้นตอนต่อไปเราจะทำหน้าตะโก้กัน ให้ละลายแป้งข้าวเจ้ากับน้ำสะอาด 500 กรัม จากนั้นก็เติมหัวกะทิและหางกะทิลงไปแล้วใส่เกลือเล็กน้อย คนให้ส่วนผสมทั้งหมดละลาย จากนั้นก็นำไปตั้งไฟให้ใช้อ่อนจนข้นและเดือด ก็จะสามารถยกลง ได้ทิ้งไว้สักครู่ให้พออุ่นก็ ใช้ช้อนตักใส่บนแป้งถั่วที่อยู่ในกระทงให้เต็มกระทง ตั้งพักไว้รอจนกว่ากะทิเย็น
– เมื่อขนมตะโก้เย็นแล้ว ก็สามารถจัดใส่จานพร้อมรับประทาน ถ้ารับประทานไม่หมดก็สามารถเก็บใส่ในตู้เย็นได้

สูตรขนมตะโก้ สูตรที่ 3

ส่วนผสมสำหรับหน้าตะโก้ (ประมาณ 20 ถ้วยใบเตย)

– สาคูเม็ดเล็ก 125 กรัม
– น้ำใบเตย 1 1/2 ถ้วยตวง
– น้ำตาลทราย 100 กรัม
– ข้าวโพดหวานต้มสุกฝาน 120 กรัม

ส่วนผสมสำหรับหน้าตะโก้

– กะทิ 2 ถ้วยตวง
– น้ำตาลทราย 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
– แป้งข้าวโพด 1/4 ถ้วยตวง
– เกลือป่น 1 1/4 ช้อนชา

วิธีการทำขนมตะโก้

– ขั้นแรกเราจะเริ่มด้วยการทำกระทง เราจะใช้ใบเตยมาทพกระทง ให้เลือกใบเตยขนาดพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เอามาล้างและเช็ดให้แห้ง ให้ใช้กรรไกรตัดใบเตยเป็นท่อน ไม่ต้องตัดจนขาด แต่ตัดแค่ครึ่งเดียวพอแบ่งเป็น 5 ท่อน แต่ละท่อนให้ห่างกัน 1.5 นิ้ว แล้วให้จับใบเตยที่เราตัดแล้วขึ้นมาพับซ้อนเพื่อให้ได้ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนท่อนสุดท้ายนั้น เราจะสอดทับเข้าไปด้านใน ด้วยการสลับบนล่างจากนั้นก็จะใช้ลูกแม๊กเย็บติด ก็จะกระทงใบเตยไว้สำหรับทำตะโก้
– ส่วนตัวขนมนั้น เรามาทำจะเริ่มจากทำตัวตะโก้สาคูก่อน ให้นำสาคูมาใส่ตะแกรงหรือกระชอน ล้างผ่านน้ำจากนั้นพักในตะแกรงหรือกระชอนให้สะเด็ดน้ำ แล้วพักไส้
– แล้วหันไปต้มน้ำใบเตยให้เดือด พอน้ำเดือดแล้ว ให้ใส่เม็ดสาคูลงไป แล้วให้กวนแบบเร็วๆ จนสาคูเริ่มสุกใส ถ้ารู้สึกสาคูหนืดมากไป ก็สามารถเติมน้ำเปล่าได้เล็กน้อย แล้วให้ใส่น้ำตาลทรายลงไปกวนพอให้น้ำตาลละลาย แล้วก็ใส่ข้าวโพดลงไปกวนจนสาคูเหนียว แล้วก็สามารถยกลงจากเตาได้
– เมื่อได้สาคูที่เหนียวกำลังดีแล้ว ให้ตักสาคูใส่กระทงที่เตรียมไว้ โดยไม่ต้องใส่ให้เต็มกระทง ใส่ไปประมาณ3/4 ของถ้วยก็พอ
– ต่อไปเราจะมาทำหน้าตะโก้กัน นำกะทิ น้ำตาลทราย แป้งข้าวโพด เกลือป่น ทั้งหมดมาใส่หม้อรวมกัน คนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดี
– แล้วก็นำไปตั้งไฟใช้ไฟปานกลางค่อนมาทางอ่อน แล้วต้องใช้ตะกร้อมือคนตลอดเวลาเพราะต้อง ระวังอย่าให้กะทิไหม้และแตกมัน
– พอหน้าตะโก้เริ่มข้นก็ให้ปรับไฟเป็นไฟอ่อน แล้วทำการกวนต่อจนได้แป้งสุก สักครู่ก็สามารถปิดไฟได้
– ให้ตักหน้าตะโก้ทั้งร้อนๆ หยอดลงไปบนตัวสาคูให้เต็มกระทงใบเตย สามารถหยอดตอนร้อนๆ ได้เลย เพราะจะทำให้หน้าตะโก้เรียบเนียนและสามารถหยอดง่ายกว่าทิ้งไว้ให้เย็น แล้วทิ้งไว้จนส่วนผสมอยู่ตัว ถ้าต้องการตกแต่งเพิ่มเติมอาจจะหยอดข้าวโพดลงบนตะโก้ได้
– จัดใส่พร้อมรับประทานได้

error: Content is protected !!