คำแนะนำก่อนลาออกจากงาน

คำแนะนำก่อนลาออกจากงาน
 

บทความคำแนะนำก่อนลาออกจากงานนี้ก็ถือว่าเป็นข้อแนะนำของท่านที่จะลาอกจากออกงานนะครับ มาเริ่มอ่านกันเลยครับ

ควรหาทางเลือกก่อนการตัดสินใจ

– คุณต้องการจะลาออกหรือไม่ ควรหาเหตุผลต่างๆ มาชี้แจงการลาออกจากงานของคุณให้ชัดเจน
– คุณต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงานจากบริษัทมากเพียงใด
– หากคุณได้รับการเสนอเงินเดือนที่สูงขึ้นหรือได้รับการเลื่อนตำแหน่ง คุณจะลาออกหรือไม่
– อธิบายลักษณะงานของคุณให้เจ้านายหรือผู้จัดการฝ่ายบุคคลทราบเพื่อเป็นการประเมินผลการทำงานของคุณ
– คุณจะมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานใหม่หรือไม่ รวมถึงเงินค่าตอบแทนที่ได้รับ สถานที่ทำงาน ลักษณะของงาน และการพัฒนาตัวคุณเองซึ่งเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญ
– พูดคุยกับครอบครัวของคุณ ถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงานใหม่ที่คุณจะได้รับ
– คุณคิดอย่างไรกับงานนั้นๆ
– การพูดคุยเรื่องการลาออก การสนทนากับเพื่อนๆ

การเขียนจดหมายลาออก

– การเขียนจดหมายลาออกเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคุณในการเตรียมสิ่งที่จะพูดและช่วยให้คุณสามารถจำกัดคำพูดได้อีกด้วย ดังนั้นคุณควรใช้โอกาสนี้ในการเตรียมพร้อมสำหรับทุกอย่าง
– วิธีทั่วๆ ไป การเขียนจดหมายลาออก คุณควรจะระบุเพียงข้อมูลที่สำคัญๆ เช่น ชื่อ วันเริ่มทำงานของผู้ยื่นใบลาออก ระบุวันลาออก และลงท้ายด้วยลายเซ็นของคุณ
– หากคุณลาออกจากงานด้วยเหตุผลที่ดี และตระหนักว่าคุณมีบางอย่างที่อยากจะชี้แจงเช่น การพูดถึงสิ่งที่ดีๆ บางทีคุณอาจจะขอบคุณเจ้านายสำหรับโอกาสดีๆ ที่ได้รับ
– อย่างไรก็ตาม หากเหตุผลที่คุณจะลาออกไม่ดีพอ ควรพยายามควบคุมอารมณ์ของคุณอยู่เสมอ เนื่องจากเจ้านายของคุณจะต้องเขียนจดหมายรับรองให้คุณ ซึ่งคุณอาจจะมีโอกาสได้ร่วมงานกับเจ้านายคุณอีกในอนาคต
– ไม่ควรให้ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ จดหมายลาออกไม่ใช้เป็นเครื่องมือที่คุณจะใช้ในการบอกเจ้านายของคุณว่าคุณคิดอย่างไรกับบริษัท มันเป็นการไม่สุภาพที่คุณจะรวมความคิดเห็นส่วนตัวในจดหมายลาออก หากคุณมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตามกับเจ้านายคุณให้พูดเรื่องนั้นๆ ในเวลาและสถานที่อื่นๆ ที่เหมาะสมกว่า ไม่ควรรวมความคิดเห็นเหล่านั้นในจดหมายลาออก เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในจดหมายรับรองการทำงานของคุณ

เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้านาย

– ไตร่ตรองให้รอบคอบว่าคุณต้องการชี้แจงอะไรบ้างและพูดให้ตรงประเด็นที่สุด เจ้านายของคุณจะพยายามที่จะถามคุณถึงเหตุผลในการลาออกจากงาน ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่คุณไม่ต้องการจะแจ้งให้ทราบ อย่ามีอคติแต่ควรชี้แจงทุกอย่างให้ชัดเจนเนื่องจากเป็นการสนทนากันระหว่างคุณกับเจ้านายของคุณ
– พยายามย้ำแต่ข้อดี คุณอาจไม่เคยทราบว่างานของคุณมีความหมายกับเจ้านายของคุณเพียงใด ดังนั้นไม่ควรพูดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในแง่ลบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่คุณทำงานอยู่กับบริษัท
– ปฏิกิริยาตอบโต้ที่อาจเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเจ้านายของคุณต้องการให้คุณลาออก การตัดสินใจของคุณอาจทำให้เจ้านายของคุณประหลาดใจ เจ้านายของคุณอาจมีอาการตื่นเต้นหรือต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามให้ยึดคำพูดที่ได้เตรียมไว้
– ควรระงับอารมณ์ของคุณ ขณะนี้เจ้านายคุณอาจจะไม่เห็นว่าคุณเป็นพนักงานของบริษัทอีกต่อไป และอาจจะรู้สึกว่าถูกคุณหักหลัง ให้ยึดมั่นในคำพูดที่ได้ตระเตรียมไว้ และอย่าพูดอะไรในเชิงท้าทาย ควรพูดด้วยน้ำเสียงปกติ และหายใจอย่างปกติ
– ควรจบบทสนทนาด้วยคำพูดที่ดี และเป็นกลางให้มากที่สุด พยายามควยคุมสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจทำให้คุณเกิดความกดดันให้ดีที่สุด ทุกคนมีจะจดจำภาพแรกและภาพสุดท้ายที่พบกันได้ดีที่สุด

เมื่อได้รับการเสนออัตราเงินเดือนใหม่

– หากคุณได้รับการขึ้นเงินเดือนหรือการเลื่อนตำแหน่งคุณจะยอมรับหรือไม่ ปัจจัยดังกล่าวคือ สิ่งที่คุณต้องการใช่หรือไม่ และอะไรคือเหตุผลที่คุณจะออก
– ในกรณีที่เจ้านายคุณเสนอเงินเดือนที่สูงขึ้น แต่ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม หากคุณยืนยันที่จะไป การลาออกน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
– เนื่องจากคุณได้ยื่นใบลาออกจากงานไปครั้งหนึ่งแล้วและคุณก็ยอมรับในข้อเสนอใหม่ คงไม่เป็นการง่ายที่คุณจะยื่นใบลาออกอีกครั้งเพื่อเรียกร้องข้อเสนอใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
– เมื่อคุณรับปากที่จะทำงานกับเจ้านายใหม่แล้วแต่คุณเปลี่ยนใจกลับมารับข้อเสนอของเจ้านายเก่า การตัดสินใจเช่นนี้จะทำให้ภาพพจน์คุณเสีย เพราะวันใดวันหนึ่งคุณอาจมีโอกาสได้ร่วมงานกับเขาได้อีก

การลาออกอย่างถูกวิธี

– คุณควรมั่นใจว่าคุณได้ยื่นใบลาออกพร้อมการชี้แจงเหตุผลที่ต้องการออกจากงาน ระยะเวลาที่คุณต้องยื่นใบลาออกมักจะชี้แจงไว้ในสัญญาว่าจ้างหรือคู่มือของบริษัท ควรจะยื่นใบลาออกประมาณ 2-4 สัปดาห์ก่อนเพื่อการทำทุกอย่างให้เป็นไปตามขึ้นตอน
– คุณควรมั่นใจว่าคุณได้ทำงานทุกอย่างในส่วนที่คุณต้องรับผิดชอบอย่างเรียบร้อยก่อนการลาออก
– ควรทำให้เจ้านายของคุณตระหนักว่า คุณรับผิดชอบหน้าที่ของคุณและพร้อมให้ความร่วมมือกับทางบริษัทอย่างเต็มที่
– ควรใช้เวลาบางช่วงเพื่อที่จะแจ้งการลาออกจากงานให้เพื่อนร่วมงานทราบ ให้กำลังใจและคำติชมการรับผิดชอบในด้านต่างๆ ของเพื่อนร่วมงาน ไม่ควรงดการติดต่อกับเพื่อนร่วมงานของคุณ เนื่องจากคุณอาจจะได้ร่วมงานหรือให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในอนาคต
– ควรทำการเจรจาตกลงเรื่องของเงินเดือน ค่าคอมมิชชั่นในส่วนที่คุณควรจะได้รับ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะลาออก

error: Content is protected !!