ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องอื่น เราควรจะรู้จักการใช้เงินของเราก่อน เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะว่าการใช้เงินเป็นเรื่องที่เราจะต้องระมัดระวังมากที่สุด มีหลายคนที่ใช้เงินตามใจตัวเอง ทำให้ต้องมานั่งร้องไห้ทีหลัง เพราะว่าเกิดอาการที่เรียกว่าชักหน้าไม่ถึงหลัง รายจ่ายมีมากกว่ารายรับ ซึ่งราย จ่ายบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือเรียกว่าเป็น ของใช้ฟุ่มเฟือยนั่นเอง แต่ก็มีหลายครั้งที่เราไม่สามารถจะห้ามใจตัวเองได้ หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ซื้อของมาเต็มมือแล้ว ดังนั้นเรามีเทคนิคการจับจ่ายซื้อของแบบที่ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลังมาฝากกันครับ
1.จดรายการใชัจ่าย
เราควรเสียเวลาวันละไม่กี่สิบนาทีเพื่อมาทบทวนว่าในวันหนึ่งๆ เราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่ารถ ค่าข้าว หรือว่าการชื้อนู่นซื้อนึ่ แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะการที่เราจดรายละเอียดการชื้อ จะทำให้เราสามารถรู้ว่าในแต่ละวันเราได้ใช้จ่ายในเรื่องใดไปบ้าง และเราจะได้นั่งทบทวนว่าสิ่งที่เราใช้จ่ายไปนั้น จำเป็นและเหมาะสมไหม เราใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยเกินไปหรือเปล่า เพราะบางครั้งเราใช้จ่ายไปโดยไม่คิดอะไรมาก แต่รายจ่ายที่เราใช้ไปนั้น เมื่อรวมๆ กันแล้ว ก็เป็นเงินอยู่มาก การที่เรามาทำรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน จะทำให้เรามีสติ ยั้งคิดในการใช้เงินครั้งต่อไป ว่าสมควรที่จะใช้หรือเปล่า
2.ตัองรู้รายไดัของตัวเอง
ก่อนที่จะวางแผนการใช้จ่าย เราควรที่จะรู้รายได้ตัวเอง ไม่ใช่ใช้ตามเพื่อนไปหมดทุกอย่าง เพราะว่ารายได้เรากับรายได้เพื่อนไม่เท่ากัน ดังนั้น เวลาที่เราใช้อะไร จะต้องประมาณตัวเองว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ สามารถที่จะจ่ายตรงนี้ด้ไหม ซึ่งรายได้ของเราก็อาจจะมาจากหลายทาง โดยที่มีรายได้หลักอยู่ที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นบริษ้ทที่เรากินเงินเดือนอยู่ ส่วนรายได้เสริมของเราก็อาจจะเป็นการเขียนหนังสือ ขายของเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น ซึ่งเราก็ต้องคำนวณเอาไวให้ดืว่า ใน แต่ละเดือนเรามีรายได้เท่าไหร่ มีรายได้ที่แน่นอนคิดเป็นกี่เปอร์เช็นต์ของรายได้ และมีรายได้ที่ไม่แน่นอนอีกเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้วาง แผนการใช้เงินของเราได้อย่างเหมาะสม และไม่เกิดอาการชักหน้าไม่ถึงหลัง ตองรู้รายจ่ายในแต่ละเดือน
3.ต้องรู้รายจ่ายในแต่ละเดือน
เมื่อรู้รายรับแล้ว สิ่งต่อไปที่เราพึงจะต้องรับรู้เอาไว้ก็คือ ใน แต่ละเดือนค่าใช้จ่ายของเรามีอะไรบ้าง ซึ่งในแต่ละเดือน สิ่งที่เราจำเป็นต้องจ่ายก็คงไม่พ้นค่านํ้า ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าของใช้ในบ้าน หรือว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตัวลูก ซึ่งเราควรจะรวบรวมบิลค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาคำนวณดูคร่าวๆ และพยายามที่จะคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงินที่เราสามารถจะจ่ายได้โดยที่ไม่ต้องเดือดร้อน
เราสามารถที่จะแบ่งคำใช้จ่ายออกเป็นหมวดหมู่ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็คงไม่พ้นหมวดต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. อาหาร
2. ที่พักอาศัย
3. สาธารณูปโภค
4. ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
5. เสื้อผ้า เครื่องประดับ
6. ค่ารถ
7. ค่าโทรศัพท์
8. สุขภาพและการรักษา พยาบาล
9. เรื่องบันเทิง
10. ของขวัญและการบริจาคต่างๆ
11. เงินออม
12. ซื้อของเบ็ดเตล็ด
13. ค่าใช้จ่ายจิปาถะ
ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องยึดถือและรู้เอาไว้ว่า เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องที่จะคำนวณคร่าวๆ ได้ เราควรที่จะคิดทุกบาททุกสตางค์ ไม่ว่าเราจะให้เงินขอทาน 5 บาท เราก็ควรจะเก็บมาคิดยิบคิดย่อย ในที่นี้ไม่ได้ หมายความว่าให้เรางก ไม่ยอมทำบุญหรือให้ทานบ้าง แต่หมายถึงเราควรจะนำเงินที่บริจาคทำบุญมารวมเอาไวในคำใช้จ่ายต่างๆ เพราะจะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น ว่าเงินของเราหายไปอยู่ตรงไหนบ้าง
การคำนวณรายจ่ายระยะยาว
เมื่อเราโตขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น การคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นเดือนๆ คงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นเราควรที่จะรู้จักการคำนวณค่าใช้จ่ายระยะยาว เพื่อที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว หรือว่าวางแผนซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้เป็นอย่างดี
การคำนวณรายจ่ายระยะยาว เราอาจจะทำเป็นปี หรือว่าราย 3 เดือน (ไตรมาส) ด้วยก็ได้ ซึ่งการคำนวณค่าใช้จ่ายระยะยาวจะทำให้เรามองเห็นภาพกว้างๆ ของการใช้จ่ายของเรา เหมาะสำหรับเวลาที่เรามีภาระต้องใช้จ่าย อย่างเช่น ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ค่าเทอมลูก เป็นต้น ซึ่งหากว่าเราคำนวณคำใช้จ่ายระยะยาวแล้ว เมื่อเรา ต้องการที่จะผ่อนของ หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างบ้าน หรืออยากจะผ่อนรถ เราก็สามารถดูได้ว่าเรามีศักยภาพที่จะใช้จ่ายตรงนี้ไหม หรือว่าจะต้องรอเก็บเงินไปอีกนานไหม ถึงจะมีเงินในการชื้อของใหญ่ๆ เป็นต้น
ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
บางคนที่ไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายมาก่อน พอมาทำแล้ว อาจจะตกใจกับรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารที่แพงแสนแพง หรือว่าขนมนมเนยที่ไม่จำเป็น หรือของจุกจิกที่เราเห็นว่าน่ารักกุ๊กกิ้ก เลยชื้อมาหลายอันโดยไม่จำเป็น ซึ่งตรงนี้เราสามารถที่จะควบคุมได้ ซึ่งเมื่อเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว เราเห็นว่าอะไรไม่จำเป็น หรือว่าตัดได้ก็ควรตัด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นพวกของใช้ฟุ่มเฟือยต่างๆ และเมื่อเราตัดไปแล้วจะทำให้เรารู้สึกเลยว่า เงินของเราเหลือเยอะขึ้น และสามารถน่าไปใช้อะไรที่เป็นประโยชน์มากขึ้น