STP Marketing คืออะไร

“STP Marketing” ถูกสร้างขึ้นมาจากแนวคิดเพื่อแบ่ง และขีดกรอบความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงของผู้ประกอบการ และชื่อ STP นั้นก็มาจากส่วนประกอบดังนี้

Segmentation = การแบ่งส่วนตลาดสามารถเลือกแบ่งได้เป็นหลายแบบตามรูปแบบสินค้าหรือบริการ
Targeting = การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนโดยเลือกจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจากการแบ่ง Segmentation
Positioning = ตำแหน่งหรือจุดยืนของสินค้าหรือบริการของเราว่ายืนอยู่บนตำแหน่งไหน จุดนี้จะสามารถบอกได้ว่าสินค้าหรือบริการของเราแตกต่างจะคนอื่นอย่างไร

การแบ่ง Segmentation การแบ่งส่วนตลาดนี้เริ่มมาจากแนวคิดที่ว่า สิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกย่อมมีความต้องการที่ต่างกัน สินค้าหรือบริการ หนึ่งชิ้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทั้งหมดได้นั่นเอง

โดยการแบ่ง Segmentation นี้จะทำให้การวางแผนการตลาดและการขายง่ายขึ้นเนื่องจากเราสามารถวางแผน การตลาดได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และความต้องการของแต่ละกลุ่มได้ โดยสามารถแยกวิธีการแบ่งนี้ได้ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. Demographic Segmentation : การแบ่งตามหลักประชากรศาสตร์ โดยแบ่งจาก อายุ เพศ รายได้ โสดหรือแต่งงาน เป็นต้น
2. Psychographic Segmentation : การแบ่งตามหลักจิตวิทยา หรือตัวอย่างเช่น แบ่งตามสีที่ชอบ Lifestyle รสชาติอาหารที่ชอบ หรือแม้กระทั่ง ชนชั้นทางสังคม
3. Geographic Segmentation : แบ่งตามพื้นที่ที่อยู่ อาจจะแบ่งได้ตาม ภาค จังหวัด ประเทศ หรือ ขนาดบ้านพัก
4. Behavioral Segmentation : แบ่งตามพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น แบ่งตามเคยใช้สินค้าประเภทนี้บ่อยครั้งแค่ไหน หรือ เวลาในการซื้อของ

ขั้นตอนการแบ่งตลาดแบ่งได้ออกเป็น 3 ขั้นตอนนั่นคือ

Step 1 : Marketing Segmentation

ขั้นตอนนี้สามารถแยกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ
Mass segmentation: คือวิธีการตลาดแบบไม่ต้องคิดอะไรมากมาย วางแผนการตลาดหนึ่งแผนสามารถขายได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย นั่นคือ “สินค้าหรือบริการ 1 ชิ้น = ผู้บริโภคทุกคน”
Segment Marketing : การแบ่งสินค้าหรือบริการสำหรับ กลุ่มผู้รับที่เหมาะสมกล่าวคือ แบ่งกลุ่มผู้รับหรือกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการ ตามขั้นตอนที่เคยกล่าวข้างต้น
สินค้าหรือบริการ 1 ชิ้น = กลุ่มผู้บริโภคที่เหมาะสม ในแต่ละกลุ่ม

Step 2 : Target Market

เมื่อแบ่งกลุ่มได้ตามความเหมาะสมของสินค้าหรือบริการของเราแล้ว ก็เจาะจงสำหรับกลุ่มที่คิดว่า เราจะตอบสนองได้ดีที่สุด การวางแผนสำหรับเจาะจงในกลุ่มที่จะนำเสนอสินค้านั้น หนึ่งองค์กรไม่จำเป็นจะต้องมีแค่ กลุ่มเดียว นั่นคือ หนึ่งองค์กรสามารถตอบสนอง ได้หลายๆกลุ่มจากสินค้าของเราที่มีหลายแบบนั่นเอง สำหรับสินค้าหนึ่งชิ้นก็สามารถตอบสนองได้หลายกลุ่ม หลาย Segment เช่นกัน แต่เราต้องสามารถระบุให้ได้ว่ากลุ่มไหนที่จะเป็นเป้าหมายของสินค้าหรือบริการนั้น

Step3 : Positioning Strategy

ตำแหน่งที่ควรยืน ยืนให้ถูกจุด ถูกเวลา นั่นคือหากเรามองมาจากมุมมองของลูกค้า หรือ กลุ่มที่ผู้บริโภคของเราโดยวิเคราะห์ผ่าน Segmentation และ Target Market มาแล้ว เราอยากให้เค้ามองเราที่จุดไหน และเป็นอย่างไร จุดเด่นที่เราเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดจะเป็นตัวบอกจุดยืนของเราได้ชัดเจนที่สุด

หากเปรียบการหา Positioning เป็นการต่อสู้ก็คงเปรียบได้เป็น เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลคู่แข่งและประเมินกำลังของเราเพื่อจะหาสังเวียนที่เหมาะสมกับกำลัง จากนั้นก็เลือกอาวุธที่เหมาะมือ และลงมือต่อสู้ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นนั่นเอง

error: Content is protected !!