ในปัจจุบันนี้ ปัญหาอาการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ ในร่างกาย ที่มักจะเป็นเป็นได้กับคนทุกวัย ไม่เฉพาะต้องเป็นคนชราเท่านั้น หนุ่มๆ สาวๆ ก็สามารถปวดเมื่อยกันได้ อาจจะเกิดจากทำงานหนัก ทำให้ปวดขา ปวดเอว หรือเครียดจนเกินไป ทำให้ปวดศรีษะเป็นไมเกรน การรับบริการด้วยการนวดจะสามารถทำให้อาการต่างๆ ทุเลาลงไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธุรกิจเปิดร้านนวดแผนไทยบูมขึ้นมากมายเรียกได้ว่าแทบจะทุกที่ที่มีชุมชน หรือที่มีคนผ่านไปผ่านมาเยอะๆ จะต้องมีร้านนวดแผนไทยอยู่ ธุรกิจเปิดร้านนวดแผนไทยก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีสำหรับท่านที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตนเอง ธุรกิจเปิดร้านนวดแผนไทยเป็นธุรกิจที่ลงทุนครั้งเดียวเลี้ยงชีพได้ตลอดไป การประกอบธุรกิจนี้เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจ ของตนเอง แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นลงมอทำ ผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจในธุรกิจนี้ให้ลึกซึ้งเสืยก่อน
แนวทางการทำธุรกิจ หากว่าเรามีการเรียนพวกวิชานวดมาบ้างหรือเข้าคอร์สอบรมเพื่อเปิด สปา หรือสถานที่รับนวดแผนไทยได้นั้นก็ไม่จำเป็นจะต้องลงทุนไปเปิดถึงเมืองท่องเที่ยวก็ได้ เพราะที่นั่นเก็บค่าเช่าสถานที่แพง โดยเฉพาะกับคนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง หรือถ้าคิดจะซื้อก็แพงมาก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เราสามารถที่จะเปิดบริการในกรุงเทพได้เองด้วย แน่นอนว่าสามารถทำเงินได้อย่างแน่นอน
ผู้ที่สนใจทำธุรกิจนวดแผนไทย ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีใจรักในการให้บริการ เพราะธุรกิจนี้เป็นธุรกิจการให้บริการ ผู้ประกอบการที่ดีควรมีใจรักในงานด้านนี้ มีความซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจาไพเราะ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2. มีศีลธรรมและสัมมาอาชีวะ การนวดเป็นการบริการแบบตัวต่อตัว โอกาสใกล้ชิดสัมผัสร่างกายลูกค้ามีอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการอาชีพนี้จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเน้นความบริสุทธิใจและศีลธรรมเป็นหลัก
3. มีพื้นฐานความรู้ด้านการนวดแผนไทย เพื่อให้เข้าใจธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการควรผ่านการอบรมมาบ้างจากสถานที่อบรมที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับ หรืออย่างน้อย 30-75 ชั่วโมง หรือ 15-45 วัน
4. มีทำเลที่เหมาะลม ทำเลที่ดีของธุรกิจนี้ควรอยู่ในที่มองเห็นได้ง่าย ชัดเจน และการเดินทางสะดวก ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมถนน หรือในจุดที่มีคนเดินผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ เพราะจะทำให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น
การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
ก่อนเปิดกิจการ “นวดแผนไทย” นั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดต่อ หน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้หากเป็นการนวดเพื่อบำบัดวินิจฉัยโรค หรือฟินฟูสมรรถภาพ ตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ผู้ทำการนวด ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต “สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ” จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น
แต่หากเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ผู้ที่ทำการนวดไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตผู้ประกอบการโรค ศิลปะ โดยผู้ประกอบการลามารถยื่นคำขอได้ที่กองการประกอบโรคศิลปะ ลำนักงานปลัดกระทรวงลาธารณสุข หรือในต่างจังหวัดยื่นที่ลำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือลำนักงานลาธารณสุขจังหวัด
ธุรกิจนวดแผนไทยจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการใน 3 ด้าน คือ
1. การจดทะเบียนพาณิชย์จัดตั้งธุรกิจ โดยทั่วไป ธุรกิจด้านบริการอย่างเดียวจะได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าร้านมีการขายสินค้าอย่างอื่นด้วย ผู้ลงทุนก็ต้องขอจดทะเบียนพาณิชย์ ผู้ลงทนสามารถศึกษารายละเอียดการจัดตั้งและการขออนุญาตได้ที่เว็บไซต์ www.ismed.or.th และ www.thairegistration.com
2. การเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดการจดทะเบียนและการยื่นชำระภาษีได้ที่ www.rd.go.th
3.การนวดที่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ระบุว่าการนวดหากเป็นการกระทํา เพื่อบําบัดโรควินิจฉัยโรคฟื้นฟูสมรรถภาพก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะผู้ที่จะทําการนวดได้ ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือเวชกรรมโบราณจากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดําเนินการใน สถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
สถานที่ยื่นคําขอ
– ในส่วนกลาง ยื่นที่กองการประกอบโรคศิลปะสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
– ในส่วนภูมิภาคยื่นที่สํานักงานสาธารณสุขอําเภอหรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ถ้าผู้ประกอบการมีใบประกอบโรคศิลปะและใบอนุญาตสถานพยาบาล (คลินิก) ก็สามารถทําการนวดรักษาโรคได้ แต่ร้านนวดต้องปฏิบัติตามระเบียบสถานพยาบาลทุกประการ เช่น การแสดงป้ายผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือเวลาทําการ การทําบันทึกประวัติคนไข้ เป็นต้น
การนวดที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ในกรณีที่
– เป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค
– ไม่ขึ้นป้ายรักษาโรค เช่น รักษาโรคอัมพฤตอัมพาต เบาหวาน ไต ปวดหลัง เป็นต้น
การแสดงป้ายอาจเขียนว่าเป็น “นวดแผนไทย” หรือ “นวดฝ่าเท้า” ได้ แต่จะแสดงข้อความว่า “พร้อมจะบําบัดรักษาโรค” หรือ ”ฟื้นฟูสภาพ” หรือ “วินิจฉัยโรค” ไม่ได้
โทษทางกฎหมาย
– หากฝ่าฝืนกระทําการนวดโดยมีการรักษาโรคแต่มิได้เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ โทษทางกฎหมายระบุไว้ว่าาจะจําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือทั้งจํา ทั้งปรับ
– หรือแม้ว่าผู้ฝ่าฝืนจะไม่ได้นวดรักษาโรคแต่ขึ้นป้ายหรือแสดงว่าพร้อมจะประกอบโรคศิลปะ ผู้ฝ่าฝืนก็มีความผิดโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
กฎหมายธุรกิจนวดแผนไทย
แม้ธุรกิจการนวดจะเป็นอาชีพให้บริการ แต่ก็เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงเช่นกัน โดยมีบทลงโทษทางกฎหมายหากผู้นวดกระทำการนวด แบบการรักษาโรค แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งจะมีดวามผิดจำ คุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และแม้จะไม่ได้ นวดแต่ขึ้นป้ายโฆษณาว่าเป็นการนวดรักษาโรคโดยไม่มีใบอนุญาตก็มีความผิด ดือมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามกฎหมายผู้นวดต้องรับผิดชอบหากเกิดอันตรายแก่ผู้ถูกนวด
1. หากทำให้ผู้อื่นเกิดอันตรายแก่ร่างกายจิตใจ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
2. หากผู้ถูกนวดเปีนอันตรายสาหัส ดังนี้คือ ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เลียความสามารถที่ม่านประสาท อวัยวะสืบพันธุ์ ใบหน้า แท้งลูก จิตพิการ ติดตัว ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรังตลอดขีวิต หรือไม่สามารถประกอบกิจ ตามปกติเกินกว่า 20 วัน ต้องโทษจำคุก 6 เดือนถึง 10 ปี
3. หากกระทำโดยประมาท เช่น นวดแล้วเกิดอันตรายสาหัส ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. หากนวดผู้ป่วยแล้วทำให้เสิยชีวิตถือว่ากระทำการโดยประมาท ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ภาพรวมการตลาด
ซึ่งการนวดแผนไทยนี้นั้นเป็นวิธีบําบัดอาการปวดที่เป็นธรรมชาติที่สุด โดยภาพรวมธุรกิจนี้มีมูลค่าในตลาดไม่น้อยเลย ซึ่งในปัจจุบันมูลค่ารวมของตลาดได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางธุรกิจพร้อมๆ กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากการนวดเป็นการบริการที่นอกเหนือจากปัจจัยสี่ ดังนั้นลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จึงมักอยู่ในกลุ่มของผู้มีรายได้ปานกลาง และมีรายได้สูง ความต้องการของตลาดจะขึ้นอยู่กับทำเลสถานที่เป็นหลัก
ธุรกิจนี้สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่การทำคนเดียว เช่น รับจ้างนวดตามบ้านลูกค้า หรือเปิดบริการนวดในบ้านของตนเอง หรือเปิดบริการตามแหล่งชุมชนต่างๆ เช่น ตลาด หมู่บ้าน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงเปิดบริการในสถานที่ค่อนข้างหรูหรา เช่น โรงแรม หรือรีสอร์ท เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้การนวดแผนไทยยังได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติอีกด้วย เช่น แถบเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เมื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้มาใช้บริการนวดแล้ว ได้เกิดความประทับใจในการนวดแผนไทย ทําให้การนวดแผนไทยมีชื่อเสียงไปข้ามทวีป จะเห็นได้ว่าในต่างประเทศก็ได้มีคนไทยไปเปิดร้านนวดแผนไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีชาวต่างชาติมาใช้บริการอยู่ไม่น้อย
ปัจจุบันธุรกิจการนวดแผนไทยประสบกับภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการหันมาดำเนินธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากผู้ประกอบการรายใหม่แล้ว การนวดแผนไทยยังกลายเป็นบริการเสริมของธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เช่น ตามร้านร้านเสริมสวยเสริมความงาม หรือโรงพยาบาลบางแห่ง
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
กลุ่มลูกค้าทั่วๆ ไป
ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่ต้องการนวดผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงานในชีวิตประจำวัน ลูกค้ากลุ่มนี้จะใช้บริการนวดทั่วไป
การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจจำแนกตาม
– อายุ ในปัจจุบันคนหนุ่มสาววัยทำงานได้มาใช้บริการร้านนวดมากขึ้น อายุจึงนับตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยสูงอายุ
– เพศ ปัจจุบันี้ทั้งเพศชาย และเพศหญิงมาใช้บริการนวดในอัตราเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน
– รายได้ รายได้เป็นส่วนหนึ่งที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจว่าจะรับบริการร้านนี้หรือไม่ ลูกค้าที่มีรายได้ และฐานะดีมักจะใช้บริการในสถานที่หรูหราตามโรงแรม หรือร้านนวดที่หรูหรา ส่วนลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางก็อาจดูที่สถานที่ และอัตราค่าบริการเป็นหลัก
– อาชีพ มีเกือบทุกอาชีพที่ทำงานอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิตที่นั่งพิมพ์ในคอมพิวเตอร์นานๆ
– นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา และแถบยุโรป
กลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพ
เช่น
– คอตกหมอน
– ไหล่ติด
– ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก
– อัมพฤต อัมพาต
การบริหารงานร้านนวดแผนไทย
การบริหารงานธุรกิจร้านนวดแผนไทยแบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ
การบริหารภาพพจน์ภายนอก
การบริหารภาพพจน์ภายนอก โดยปกติแล้วธุรกิจบริการนั้นเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ลูกค้าจะซื้อบริการก็ต่อเมื่อลูกค้าเชื่อว่าจะได้ในสิ่งที่ต้องการ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องบริหารภาพพจน์ภายนอกของร้าน โดยต้องสื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในการบริการของเรา เช่น
– การตกแต่งร้านที่ดูสะอาด สบายตา สีไม่ฉูดฉาดเกินไป
– มีบริการที่หลากหลายให้ลูกค้าเลือก เช่น นวดตัว นวดฝ่าเท้า นวดน้ำามันหอมระเหย นวดประคบด้วยสมุนไพร
– ติดป้ายบอกอัตราค่านวดไว้อย่างชัดเจนที่ป้ายหน้าร้าน
– พนักงานทุกคนแต่งกายเรียบร้อย การต้อนรับสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ
– ประกาศนียบัตรรับรองการอบรมการนวดแผนไทยของพนักงานทุกคน ต้องติดไว้ให้ลูกค้ามองเห็นเด่นชัด
– รักษาความสะอาดภายในร้าน และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้าน เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าขนหนู ชุดที่ลูกค้าใส่นวด
- ทําเลที่ตั้งที่เหมาะสม ใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ค่าเช่าสถานที่ไม่แพงจนเกินไป และไม่นวดในแถวสถานที่ที่ไม่ควรไปตั้ง โดยลูกค้าอาจจะเข้าใจผิดว่าร้านเราเป็นร้านแบบนั้นไปด้วย
– สถานที่ตั้งมีที่จอดรถสะดวก ไปมาง่าย
– รักษาการบริการให้ได้มาตรฐานคงที่ โดยให้บริการนวดครบทุกขั้นตอน และตามเวลาที่กำหนด
การบริหารจัดการภายใน
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ การบริหารจัดการภายในร้านเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยปกติถ้าเป็นร้านขนาดเล็ก ผู้ประกอบการจะทำหน้าที่หลายอย่าง คือ เป็นทั้งผู้จัดการร้าน เป็นผู้ดูแลด้านการเงิน เป็นผู้จัดหาพนักงานนวด และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ แต่ถ้าเป็นร้านขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการอาจจ้างตําแหน่งงานเพิ่มเติมดังนี้ คือ
– ผู้จัดการร้าน จะเป็นคนช่วยบริหารงานบริการ จัดการเรื่องต่างๆ ภายในร้าน
– สมุห์บัญชี จะรับผิดชอบการควบคุมบัญชีทรัพย์สิน รายรับ และรายจ่าย และการบริหารเงินทุนหมุนเวียน
– พนักงานต้อนรับ ทําหน้าที่ให้ข้อมูลด้านบริการ และต้อนรับลูกค้า เก็บประวัติลูกค้า
– พนักงานนวด สําหรับพนักงานนวดแล้ว ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของร้าน ผู้ประกอบการอาจบริหารพนักงานนวดด้วยวิธีการดังนี้ คือ
– กำหนดวันหยุดให้พนักงานในแต่ละสัปดาห์
- มีชุดยูนิฟอร์มของร้านให้พนักงาน
- ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหาร โดยจัดประชุม ให้พนักงานบอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน และเป็นการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการว่ามีการติชมมากน้อยแค่ไหน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง ให้ประชุมร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง
- อบรมพนักงานนวด เพื่อพัฒนาฝีมือการนวดให้ดียิ่งขึ้น
- อบรมพนักงานด้านภาษา กรณีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน
- ทำให้พนักงานนวดในร้านให้อยู่กับร้านนานๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีความเอาใจใส่พนักงาน ให้พนักงานมีรายได้ที่พอเพียง เพราะความพอใจของพนักงานเป็นเรื่องสําคัญ ถ้าพนักงานมีความสุขในการทํางาน พนักงานก็จะให้บริการที่ดีกับลูกค้า
– ปัญหาเรื่องการดึงตัวพนักงานนวดที่มีความสามารถอาจเกิดขึ้นได้ เช่นถูกดึงตัวไปอยู่ร้านอื่น สาเหตุอาจมาจากความดึงดูดใจด้านรายได้ที่มากกว่า หรือที่พักอาศัยที่สะดวกกว่า เป็นต้น
การบริหารลูกค้า
ผู้ประกอบการควรประเมินการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เช่น ทําแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นการบริการของร้าน แต่วิธีนี้ลูกค้าบางรายอาจจะไม่ชอบเขียน ดังนั้น ร้านจึงควรสอบถามจากลูกค้าโดยตรงเมื่อนวดเสร็จ ว่านวดแล้วเป้นอย่างไรบ้าง เพื่อนําเอาปัญหา หรือข้อคิดเห็นของลูกค้ามาปรับปรุงการให้บริการภายในร้านให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ทำเลที่ตั้งร้าน
ทำเลที่ตั้งของธุรกิจนี้ ควรอยู่ในย่านใกล้กลุ่มเป้าหมาย การเดินทางสะดวก มีที่จอดรถ หรือจะเป็นการตั้งร้านอยู่ตามแหล่งชุมชน ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว หรือถ้าผู้ประกอบการต้องการรองรับลูกค้าที่ชอบความสงบ สถานที่เป็นสัดส่วน เหมาะแก่การผ่อนคลาย ก็อาจเปิดบริการตามโรงแรม หรือรีสอร์ท
แต่สิ่งที่ควรพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ ถ้าผู้ประกอบการมีสถานที่ของตนเอง และเหมาะกับการเปิดธุรกิจร้านนวดแผนไทย ก็สามารถลงทุนได้ แต่ถ้าต้องเช่าสถานที่ ผู้ประกอบการควรศึกษาเรื่องค่าเช่า และสัญญาเช่า ว่าเหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่ นอกจากนี้ก่อนเปิดกิจการ ผู้ประกอบการควรหาข้อมูลด้วยว่า ในแถบที่จะไปตั้งร้านนั้น มีร้านนวดแผนไทยอยู่ก่อนหรือไม่ เราจะสามารถแข่งขันกับเขาได้อย่างไร และลูกค้ามีจำนวนเพียงพอให้เราแทรกพื้นที่ทางการตลาดได้หรือไม่
การลงทุน
การลงทุนในธุรกิจนวดแผนไทยจะขึ้นอยู่กับขนาดร้าน และทำเลที่ตั้ง ดังนั้นการลงทุนจึงมีตั้งแต่ระดับใช้เงินทุนตํ่า เช่น ผู้ประกอบการใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่นวด ลงทุนแต่อุปกรณ์ การตกแต่งน้อย ไปจนถึงการใช้เงินทุนค่อนข้างสูงที่ทำเป็นร้านขนาดใหญ่ ทั้งนี้จำานวนเงินลงทุนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
– ขนาดของร้าน ต้องดูว่าเป็นขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่
– เป็นเจ้าของสถานที่เอง หรือต้องเช่า หรือต้องซื้อสถานที่
– ลักษณะสถานที่ และการตกแต่งภายใน นั่นคือจะเน้นความเรียบง่าย หรือจะเน้นตกแต่งแบบหรูหรา
– จํานวนพนักงาน และเตียงที่ให้บริการ
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร แบ่งเป็นการลงทุนด้านต่างๆ ดังนี้
– ค่าตกแต่งสถานที่ เช่น ค่ากั้นห้อง ทาสี ทำประตูกระจกหน้าร้าน
– ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น เตียงนวดตัว เตียงนวดเท้า ชุดพนักงาน หมอน ผ้าปูที่นอน
– ค่าเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องปรับอากาศ โต๊ะ เก้าอี้ โทรศัพท์
– อื่นๆ เช่น ค่าการตลาดแนะนำร้าน หรือของสมนาคุณเมื่อใช้บริการครบตามจำนวนครั้งที่กำหนด
– การตกแต่งสถานที่ไม่มีมาตรฐานตายตัว เน้นความสะอาด สบายตา ฉะนั้นเงินลงทุนเริ่มต้นจึงสามารถยืดหยุ่นได้
เงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
– ค่าเช่าสถานที่
– ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
– ค่าพนักงาน
– ค่าน้ำมันนวด ค่าซักผ้า
– ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ผู้ประกอบการควรมีความพร้อมเรื่องเงินลงทุน และหากผู้ประกอบการจะต้องกู้เงินเพื่อมาลงทุน ผู้ประกอบการก็ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระเงินที่กู้มาคืนด้วย
การส่งเสริมการขาย
ผู้ประกอบการร้านนวดแผนไทย ควรจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย ดังนี้
- ติดต่อบริษัททัวร์ หรือไกด์ เพื่อให้แนะนำนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการ
- แจกใบปลิวแนะนำร้าน และการบริการภายในร้าน แถบที่ร้านตั้งอยู่
- สมัครสมาชิก โดยไม่เก็บค่าสมาชิก พร้อมให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก เช่น ส่วนลด หรือแถมการให้บริการ การสะสมแต้มเพื่อแลกสินค้าหรือบริการต่างๆ ภายในร้าน เป็นต้น
- จัดกิจกรรมประจำปี เช่น จัดวันผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในวันนั้นสามารถนวดได้ครึ่งราคา เป็นต้น
- จัดกิจกรรมเพื่อนแนะนำเพื่อน โดยมีของขวัญให้ ทั้งผู้แนะนำ และผู้มาใหม่
- ลงโฆษณาตามนิตยสารแนวสุขภาพ
- ทำเว็บไซต์ หรือ fanpage ลงโฆษณาในอินเตอร์เน็ต หรือ social media ต่างๆ