วิธีปลูกถั่วงอก พร้อมคำแนะนำในการขายถั่วงอก

ถั่วงอกเป็นผักที่เราสามารถได้จากต้นอ่อนของเมล็ดถั่วเขียว ที่มีการเพาะโดยไม่ให้ถูกแสงแดด ซึ่งคนส่วนใหญ่แล้วนิยมนำมาประกอบอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยว ผัดถัวงอก ยำถัวงอก รวมถึงใช้เป็นผักเพื่อรับประทานควบคู่ไปกับอาหาร บอกเลยว่ารับประทานแบบสดๆ หวานกรอบ ฟินเวอร์

แต่ที่ถั่วงอกไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไหร่นั้น ส่วนหนึ่งมาจากแหล่งจำหน่ายบางที่มีการใช้สารฟอกขาว และสารรักษาความสดอย่างฟอร์มาลีน ก่อนที่จะมีการจำหน่ายออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งสารเหล่านี้เองนะคะจะคอยสะสมและเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคอย่างมาก อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากได้รับในปริมาณมาก

ในการเพาะถั่วงอก ถือว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเพาะปลูกสั้นๆ รวดเร็ว รวมไปถึงมีขั้นตอนในการเพาะ และดูแลรักษาที่ง่าย ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายสักเท่าไหร่ เพียงแค่ 4 วันก็สามารถเก็บผลผลิตรับประทาน หรือจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้แล้ว

พันธุ์ที่นิยม

ปัจจุบันนี้นิยมใช้เมล็ดถั่วเขียวในการเพาะถัวงอก 2 สายพันธ์ได้แก่ ถัวเขียวผิวมันและถัวเขียวผิวดำ ซึ่งถัวเขียวผิวดำจะเป็นที่นิยมมากที่สุด มีอัตราการงอกและให้ผลผลิตที่ดีกว่า อายุการเก็บเกี่ยวสั้น มีลักษณะที่แตกต่างไปตามสายพันธุ์

การเพาะถั่วงอก

การเลือกซื้อเมล็ดพันธ์ที่จะนำมาทำการเพาะถัวงอก
1.พันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ ให้เกษตรกรเลือกใช้ พันธุ์กำแพงแสน 1 และ2 หรือจะเป็นพันธุ์ชัยนาท 36 และ72
2.พันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน จะต้องเป็นพันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์ KABA

อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกถั่วงอก

1.ตะกร้าพลาสติก ถ้าไม่สะดวก อาจใช้เป็นตะกร้าไม้ไผ่ตาถี่dhwfh8jt
2.ถังน้ำหรือกะละมัง
3.ถังเพาะพลาสติก ขนาด หรือปริมาณตามที่เกษตรกรต้องการเพาะปลูกเลย ง่ายๆ ในการเตรียม เพียงแค่ทำการเจาะรูที่ก้นถัง 0.5-1 เซนติเมตร โดยให้เว้นระยะห่างต่อรูประมาณ 1 นิ้ว ทั่วทั้งก้นถัง
4.ตาข่ายพลาสติกตาถี่
5.อิฐก้อน หรืออาจใช้เป็นท่อนไม้

อุปกรณ์การให้น้ำ

กระด้ง รูขนาด 0.5 เซนติเมตร สามารถหาซื้อได้จากแหล่งขายอุปกรณ์การเกษตร

ขั้นตอนในการเตรียมเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันที่จะนำมาเพาะปลูกนั้น จะต้องมีความสมบูรณ์ และมีการจัดเก็บไม่นานกว่า 2-3 เดือน จะสามารถให้ผลผลิตได้เยอะ และปริมาณมาก
1.ในการเลือกซื้อเมล็ดพันธ์สำหรับการเพาะปลูก จะต้องนำมาเก็บในพื้นที่ที่ปราศจากความชื้น อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อบอ้าว และจะต้องเป็นพื้นที่ไม่โดนละออกฝน หรือน้ำฝนอย่างเด็ดขาด
2.เริ่มต้นด้วยการนำเมล็ดพันธ์ใส่ในตะกร้าที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นนำลงร่อนในน้ำ เพื่อคัดเลือกเมล็ดพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์ออก สังเกตเห็นว่าเมล็ดพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านั้นจะลอยน้ำขึ้นมา

การเพาะเมล็ด

1.นำเมล็ดพันธ์ที่สมบูรณ์แช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง
2.จัดเตรียมสถานที่เพาะปลูกด้วยการนำท่อนไม้ หรืออิฐวางบริเวณก้นถัง ตามด้วยการวางตาข่ายทาบลงไป ตามด้วยเมล็ดพันธุ์ 1 ใน 4 ส่วนของถัง
3.ให้น้ำทุก 2-3 ชั่วโมง ในแต่ละครั้งนาน 2-5 นาที ในช่วงที่มีการเพาะปลูกแนะนำว่าอุณหภูมิของโรงเรือนควรอยู่ที่ 20-25 องศา เพื่อที่ถั่วงอกจะได้เจริญเติบโตได้เต็มที่ และรวดเร็ว

การเก็บถั่วงอก

หลังจากที่มีการเพาะปลูก จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 4 วัน โดยเมล็ด 1 กิโลกรัม สามารถเพิ่มน้ำหนักและให้ผลิตประมาณ 5-7 เท่า
การ จำหน่ายสามารถจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางหรือส่งขายให้แม่ค้าโดยตรง โดยอาจขายขณะที่ถั่งอกยังอยู่ในถังด้วยการชั่งกิโลหรือนำถั่วงอกมาคัดแยก และบรรจุถุงจำหน่าย

ตลาดรองรับการเพาะปลูก

ก่อนที่จะมีการเพาะปลูกนั้นจะต้องหาแหล่ง หรือสถานที่รองรับผลผลิตของคุณด้วย เพราะไม่อย่างนั้นเมื่อมีผลผลิตออกมาแล้ว ไม่มีที่ระบายอาจนำไปสู่การสูญเสีย ทั้งเวลา และเงินทุน ก่อนที่จะมีการจำหน่าย ถัวงอกที่ได้จะต้องมีการคัดแยกเปลือกเมล็ดออก โดยเบื้องต้นกาก หรือเปลือกถัวจะหลุดออกตกลงตามรูของตะแกรง

ข้อแนะนำสำหรับโรงเรือน น้ำ และอุปกรณ์ให้น้ำ

1. โรงเรือน
– ลักษณะของโรงเรือนเบื้องต้นต้องไม่ให้แสงสว่างส่องถึง อาจใช้เป็นผ้าทึบ หรือก่ออิฐก็ได้
– การสร้างโรงเรือนจะต้องเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อการระบายน้ำที่ดีเนื่องจากการเพาะปลูกถั่วงอกจะต้องอาศัยการรดน้ำอยู่ตลอดอยู่ตลอดเวลา
– ด้านหน้าต้องมีประตูปิดหรือปิดด้วยพลาสติกกันแมลง เพื่อป้องกันแมลงเข้าไปรบกวน
2. อุปกรณ์การให้น้ำแบบรดมือ
– ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรนิยมรดน้ำด้วยรดน้ำ รูเล็ก เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ และสามารถรดน้ำได้อย่างทั่วถึง ด้วยการตักน้ำจากบ่อและรดด้วยมือ
– กรณีที่เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ อาจดัดแปลงโดยการน้ำหัวบัวรดน้ำมาทำการต่อกับปั๊มสายยาง เพื่อง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
3. อุปกรณ์การให้น้ำแบบอัตโนมัติ
– สำหรับโรงเรือนบางที่อาจมีการเครื่องให้น้ำอัตโนมัติ เพื่อประหยัดแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องมีบ่อพักน้ำ พร้อมกับปั๊มแรงดัน
– จากนั้นทำการต่อท่อ และสายส่งน้ำจากปั๊มแรงดันดังกล่าว โดยการใช้ระบบหัวสเปรย์ในการกระจายน้ำ เพียงเท่านี้ก็สามารถกระจายน้ำได้ครอบคลุมทั่วทั้งปากถังเพาะแล้วล่ะจ้า
แต่สิ่งที่ไม่ควรพลาดในสิ่งเล็กสิ่งน้อย สำหรับการเพาะปลูกคือคุณภาพของน้ำ หากเป็นน้ำคลอง หรือน้ำจากบ่อจะต้องมีการนำมาปรับปรุง ด้วยการกร่อนให้ตกตะกอย ฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนไปสู่ผู้บริโภค

วิธีปลูกแบบที่ 2

ถั่วงอกสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด การเพาะถั่วงอกแบบปกติจะทำให้ถั่วงอกมีรากฝอยมาก มีสีคล้ำ ทำให้ไม่น่ารับประทาน ผมขอแนะนำการเพาะถั่วงอกแบบไร้รากฝอยและไร้สารพิษด้วยครับ วิธีดังกล่าวจะช่วยให้ถั่วงอกที่ได้สวยงามน่ารับประทาน และมีมูลค่ามากขึ้นด้วย จึงทำให้ การเพาะถั่วงอกเป็นอาชีพที่น่าสนใจอีกอาชีพหนึ่งที่ทำได้ไม่ยาก ลงทุนน้อย ได้ผลกำไรมาก

อันดับแรกก็หาภาชนะที่ใช้ใส่ถั่วงอกกันก่อนครับ ต้องเป็นภาชนะต้องทึบแสงนะครับ มีการระบายน้ำดี เช่น การเพาะถั่วงอกในตะกร้า ก็เอาถุงดำมาคลุมแล้วไว้ในห้องที่มืด หรือ เพาะในวงบ่อซีเมนต์ที่ปิดปากบ่อให้มืด เป็นต้น ถั่วงอกที่นำมาเพาะควรเป็นถั่วงอกพันธุ์ดี ให้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอที่จะทำให้ถั่วงอกที่เพาะ เพราะจะทำให้ไม่เกิดความร้อนที่สะสมมากเกินไปครับ หากตะกร้าหรือวงบ่อที่เพาะถั่วงอกมีความร้อนสะสมมากเกินไป ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอกจะทำให้ลำต้นเล็ก ไม่อวบอ้วน จะทำให้ถั่วงอกมีรากฝอยมาก ทำให้ไม่น่ารับประทาน และขายได้ในราคาต่ำครับ

การผลิตถั่วงอกแบบไร้รากฝอย 1 วงบ่อปูน จะใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ 1.8 กิโลกรัมต่อวงบ่อ เมื่อเพาะแล้วจะได้ถั่วงอก 10-12 กิโลกรัม ผลที่ได้จากการเพาะถั่วงอกแบบไร้รากฝอยคือ ต้นยาว ขาว มีรสชาติหวาน กรอบ ไม่เหม็นเขียว และที่สำคัญยังปลอดสารพิษอีกด้วยครับ ส่วนการเก็บ ก็สามารถเก็บไว้ได้นาน หากใส่ถุงมัดปากถุงแล้วเก็บในอุณหภูมิปกติจะไว้ได้นานราว 3 วัน แต่หากเก็บไว้ในตู้เย็น จะเก็บไว้ได้นานถึง 7-10 วันเลยครับ จะเห็นได้ว่าการเพาะถั่วงอกนั้น ทำได้ไม่ยาก และยังให้ผลตอบแทนที่สูงมาก

ขอให้ร่ำรวยกันทุกคนนะครับ

error: Content is protected !!