คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่า บรรดานักธุรกิจ ผู้บริหาร นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และธุรกิจของตนเองนั้น พวกเขามีคุณสมบัติอะไรที่นำพาพวกเขาไปสู่จุดสูงสุดในชีวิตได้ ถ้าดูภายนอกแล้วมันก็ไม่ต่างอะไร ศักยภาพทางร่างกายก็ไม่มากไม่น้อยไปกว่าเราๆ ท่านๆ บางคนดูจะอ่อนแอขี้โรคด้วยชํ้า
ศักยภาพทางการศึกษาก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพราะหากสืบประวัติของเศรษฐกิจเมืองไทย หรือระดับโลกหลายท่านดู ก็จะพบว่า บางคนจบแค่ ป.4 หรือไม่ก็เคยเป็นผูใซ้แรงงานมาก่อน แต่บรรดาหัวกะทิของชั้นหรือพวกที่มีดีกรีระดับปริญญากลับเป็นเพียงพนักงานเงินเดือนน้อยนิด หรือไม่ก็ยังหางานทำไม่ได้ทั้งที่เรียนจบมาก็หลายปีเต็มทีแล้ว ประเด็นนี้น่าสนใจครับ
มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะเรียนจบอะไรมา สำคัญอยู่ที่คุณได้ใช้ศักยภาพที่คุณมีอยู่เต็มที่แล้วหรือยัง หลายคนพลาดโอกาสดีๆ ในชีวิตไป เพียงเพราะไม่เชื่อมั่นว่าพวกเขาทำได้ และไม่มีศรัทธาในความสามารถของตนเลย
จะเป็นประโยชน์มากเพียงใด หากทุกคนใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ด้วยความมั่นใจ และเชื่อมั่นว่ามันต้องสำเร็จ พร้อมๆ กับ การศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้ กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ และไม่กลัวว่ามันจะล้มเหลวหรือไม่ การคาดหวังและรอคอยว่าเมื่อไรโอกาสดีๆ จึงจะลอยมาหาเรา เป็นการกระทำที่ไร้ค่าและสูญเปล่าที่สุด
เราต้องรู้จักแสวงหาโอกาส รู้จักพลิกแพลงวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ใครที่ทำเช่นนื้โด้ถือว่าสุดยอด นี่คือความฉลาดที่แท้จริง คนที่มัวแต่รอให้คนอื่นมองเห็นตนหรือความสามารถของตน เพื่อที่จะได้รับโอกาสจากคนอื่นให้ทำงาน หรือทำอะไรที่ได้รับมอบหมายให้ทำ แล้วจะมีความสุขมากที่ได้รับความไว้วางใจ แล้วจะได้เงินมา ซึ่งก็เป็นเพียงเงินเดือนน้อยนิดที่เก็บสะสมเท่าไรก็ไม่มีวันรวย
นี่ละครับ คือความแตกต่างระหว่างเจ้าของกิจการกับลูกจ้าง ระหว่างผู้ที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ล้มเหลวมันต่างกันที่ความคิด หรือจิตสำนึกวิสัยทัศน์ ความเชื่อมั่น ความกล้าตัดสินใจ ความเด็ดเดี่ยว สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่วัดกันที่ปริญญาไม่ได้ อย่ามัวแต่โอดครวญต่อว่าชะตาฟ้าดิน อย่ามัวแต่วิพากษ์วิจารณ์ใครต่อใคร อย่ามัวแต่โทษสังคม โทษคนนั้นคนนี้
หันมามองตัวเอง ศึกษาตัวเองให้ถ่องแท้ แล้วคุณจะรู้ว่า ตัวคุณเองนั่นแหละคือคำตอบของทุกคำถาม แล้วก็ตัวคุณอีกเช่นกัน ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้คุณล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จในชีวิต
และนี่คือ 11 ข้อคิดในการใช้ชีวิตเมื่อต้องทำธุรกิจหรือลงทุน
1.มีความรักในธุรกิจของตัวเอง : การทำงานควรจะทำด้วยความสนุก ความรักในงานของคุณจะทำให้คุณผ่านจุดที่ยากลำบากไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความชื่นชอบนั้นสอนกันไม่ได้
ลองคิดดูว่าทำไมคุณถึงอยากทำธุรกิจซึ่งมันจะทำให้คุณชื่นชอบงานของคุณมากขึ้น
2.สร้างความเชื่อใจ : ผู้คนที่มีความน่าเชื่อถือน่าไว้ใจ มักจะชอบทำธุรกิจร่วมกับผู้ที่น่าไว้ใจเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราควรที่จะสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า
3.อย่ากลัวล้มเหลว : ความล้มเหลวนั้นเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ทุกๆอย่างย่อมเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จนั้นเคยล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้น
4.ตัดสินใจให้เร็วเพื่อโอกาสที่ดี : ใช้สัญชาติญาณของคุณตัดสินใจและวางแผนธุรกิจและเลี่ยงการผลัดวันประกันพรุ่งเพื่อนำไปสู่การได้รับโอกาสที่ดี
5.สิ่งที่สำคัญที่สุดในบริษัทคือคุณ : ควรดูแลรักษาสุขภาพของคุณไว้ให้ดี เพราะคุณมีค่ามากกว่าเครื่อจักรราคาแพง พยายามทำให้ร่างกายของคุณพร้อมเอาไว้เสมอ
6.อย่ามั่นใจมากนัก : อย่าทำตัวให้มั่นใจไม่ฟังใครนัก เช่นการใช้เงินไปกับสิ่งของแพงๆเพื่อทำให้ใครประทับใจ หรือปิดไม่รับฟังความเห็นจากใคร
ควรที่จะแบ่งปันความคิดเพื่อที่จะได้ความคิดใหม่ๆเข้ามาเพื่อทำการพัฒนาตัวเองหรือบริษัท
7.มีความเชื่อมั่น : คุณต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองและตัวบริษัทของคุณถึงจะประสบความสำเร็จได้ ซึ่งความเชื่อมั่นนั้นจะส่งผลไปถึงผู้ร่วมงานได้ ความเชื่อมั่นที่ดีย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพื่อความคิดบวกและจิตใจ
8.ยอมรับคำวิจารณ์และยอมรับความผิดพลาด : คุณต้องทำงานเพื่อให้ได้การยอมรับของเพื่อนร่วมงานแม้ว่าเขาอาจจะเคยติความคิดของคุณไปบ้าง แต่ในทางที่ดีใช้แรงกดดันนั้นเป็นแรงผลักตัวเองให้ทำงานต่อไปให้ได้ดีขึ้น
9.รักษาคุณธรรมเพื่อการทำงานที่น่าเชื่อถือ : อย่าพยายามลดมาตรฐานตัวเองเพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่ง จงทำธุรกิจแบบตรงไปตรงมาเพื่อรักษามาตรฐานที่ดีของตนเองเอาไว้และเป็นที่ไว้วางใจ
10.ฟื้นตัวให้เร็วหลังจากผิดพลาด : คุณอาจล้มเหลวในบางธุรกิจ แต่อย่ามัวเอาแต่เสียใจ ควรที่จะคิดในแง่ที่ดีและนำความผิดพลาดนั้นมาคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ เพื่อที่จะพัฒนาบริษัทต่อไป และจงจำไว้คุณแก้ไขอดีตไม่ได้ จงทำอนาคตและปัจจุบันให้ดีที่สุด
11.ลองเสี่ยงดูเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า : ลองเสี่ยงในการที่จะนำเสนอสิ่งใหม่ๆให้กับบริษัทหรือวงการธุรกิจ ซึ่งคุณอาจจะพบว่ามีหนทางที่ดีอีกหลายอย่างที่เปิดโอกาสรอให้คุณได้ทดลองอยู่
และต่อไปนี้ เป็นข้อคิดดีๆ ที่เป็นสุดยอดข้อคิดในการใช้ชีวิตของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งจะค่อนไปทางการเล่นหุ้น แต่เราก็สามารถเอาปรับใช้ในเรื่องธุรกิจได้เหมือนกันนะครับ มีอยู่ 7 ข้อด้วยกัน คือ
1.อย่าขาดทุน
นั่นหมายความว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุน ก็คือ คุณต้องพยายามอย่าให้ขาดทุน การลงทุนของบัฟเฟตต์จะเน้นการลงทุนถือหุ้นระยะยาวมาก หุ้นจะขึ้นหรือเปล่าในเดือนหน้าหรือปีหน้า เขาไม่สนใจ เขาสนใจแต่ว่าในระยะยาวแล้ว หุ้นที่เขาซื้อจะไม่ลดลงอย่างถาวร เนื่องจากผลการดำเนินงานแย่ลง
2.ซื้อธุรกิจที่ดีสุดยอดในราคาปานกลาง แทนที่จะซื้อธุรกิจปานกลางในราคาที่ดีสุดยอด
บัฟเฟตต์นั้นไม่เน้นซื้อของถูกหรือซื้อได้ในราคาที่ดีสุดยอด เขาคิดว่าธุรกิจที่ดีสุดยอดนั้น ในระยะยาวแล้วมูลค่าของกิจการก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่แพง ราคาหุ้นก็จะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามผลประกอบการ ยิ่งถือนานก็ยิ่งดี
3.เวลาเป็นเพื่อนของธุรกิจที่ใหญ่ แต่เป็นศัตรูของธุรกิจเล็ก
นั่นก็คือถ้าเราถือหุ้นของธุรกิจที่ใหญ่ หรือธุรกิจที่ดีสุดยอด คุณจะอยากถือไว้นานที่สุด ให้เวลากับการลงทุน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป กำไรของบริษัทก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่สูงต่อเนื่อง
ตรงกันข้าม ธุรกิจเล็กๆ นั้น ในบางช่วง เช่น ช่วงแรกๆ ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นด้วยสาเหตุอะไรบางอย่างซึ่งอาจจะรวมถึงการที่มีคนเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ถูกและเข้ามาซื้อทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น แต่เมื่อถือหุ้นนานขึ้นเรื่อยๆ แต่กำไรของบริษัทและราคาหุ้นกลับไม่ปรับตัวขึ้น ผลก็คือเมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนต่อปีก็จะลดลงเรื่อยๆ ยิ่งถือนานก็ยิ่งแย่
4.กำไรจากการไม่มีการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะเปลี่ยนแปลง
นั่นก็คือ บัฟเฟตต์มองว่าธุรกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายด้วยปัจจัยอื่นโดยเฉพาะทางด้านของเทคโนโลยี จะถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถคาดการณ์ผลประกอบการได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับเขาที่ต้องการลงทุนระยะยาวมากหรือตลอดไป ดังนั้นถ้าอะไรที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เขาก็มักจะหลีกเลี่ยงไม่ลงทุน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางทีอาจจะทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ก้าวกระโดด และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นได้มหาศาล อย่างหุ้นอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย กิจการที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายก็มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่บัฟเฟตต์จะรับได้
5.บริษัทใหญ่มักจะประสบกับปัญหาชั่วคราว เราต้องการซื้อมันเมื่อมันดูเหมือนใกล้จะเจ๊ง
นี่เป็นโอกาสทองที่บัฟเฟตต์แสวงหาตลอดมา จากอดีตจะเห็นว่าเขาเคยทำเงินมหาศาลอย่างรวดเร็วจากการซื้อหุ้นของกิจการที่ดีสุดยอด แต่ประสบปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขได้ เช่น หุ้นของ American Express หุ้น Coke และหุ้นอีกหลายตัวในช่วงที่เกิดวิกฤติสินเชื่อ Subprime ในอเมริกา (ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤต Hamburger)
6.ผลตอบแทนลดลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น
เมื่อนานมาแล้ว เซอร์ไอแซคนิวตัน นักวิทยาศาตร์ลือชื่อของโลก ได้ให้กฎ 3 ข้อของการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเป็นผลงานที่เป็นอัจฉริยะ แต่ความสามารถของนิวตันไม่คลุมไปถึงเรื่องการลงทุน เขาได้เคยลงทุนในหุ้น และขาดทุนมากมายในวิกฤตการณ์ ฟองสบู่ South Sea ในประเทศอังกฤษ เขากล่าวภายหลังว่า “ผมสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ผมไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของคนได้”
ถ้าเขาไม่ขาดทุนในวิกฤตการณ์ครั้งนั้นมากเกินไป เขาคงได้ค้นพบกฎกฎข้อที่ 4 ของการเคลื่อนไหว นั่นคือ “สำหรับนักลงทุนโดยรวม ผลตอบแทนลดลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น”
ความหมายของคำกล่าวนี้ก็คือ บัฟเฟตต์มองว่า ยิ่งเราซื้อขายหุ้นมากขึ้น เราก็จะต้องเสียต้นทุนค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับส่วนต่างราคาซื้อราคาขาย และอาจจะเกิดความผิดพลาดในด้านของจังหวะการซื้อขาย ทั้งหมดนั้นทำให้ยิ่งเทรดหุ้นมาก ผลตอบแทนก็ยิ่งลดลง
7.ใครว่ายน้ำตัวเปล่าก็ต่อเมื่อกระแสน้ำลดลง
ความหมายก็คือ การที่จะดูว่าใครมีฝีมือในการลงทุนจริงๆ หรือหลักการลงทุนแบบไหนได้ผลในระยะยาวจริงๆ นั้น เราจะต้องดูตอนที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำหรือซบเซาลงมากๆ เพราะนั่นคือเวลาที่จะพิสูจน์ว่ากลยุทธ์การลงทุนใช้ได้ผลจริง เพราะในยามที่ตลาดดี หรือช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นโดดเด่นเป็นกระทิง กลยุทธ์หลายๆ แบบอาจให้ผลดี หรือแม้แต่ดีกว่ากลยุทธ์ที่กูรูระดับโลกใช้กัน แต่ในยามที่ตลาดตกต่ำ กลยุทธ์นั้นอาจจะทำให้ขาดทุนมหาศาลและทำให้ผลตอบแทนโดยรวมระยะยาวกลับแย่ลงหรือไม่ดีอย่างที่คิด
ทั้งหมดก็เป็นเพียงบางส่วนของความคิดอัจฉริยะของบัฟเฟตต์ ที่ได้ผ่านการทดสอบมาต่อเนื่องยาวนาน เขาบอกว่า “คนชอบอ้างอิงความคิดของเรา แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติตามแนวทางการลงทุนที่เราทำ” และนี่ก็คงเป็นเรื่องธรรมชาติของคน หลักการลงทุนแบบบัฟเฟตต์ มันฝืนความรู้สึกของคนที่มักจะชอบ “ทำอะไรบางอย่าง” การซื้อแล้วถือหุ้นไว้เฉยๆ แบบบัฟเฟตต์นั้น ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย