บทความนี้ก็ว่าด้วยเรื่องวงจรรายจ่ายหรือวงจรค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ถ้าพูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ไม่ใช่ว่าเราจะมัวแต่มานั่งคิดย้อนหลังว่า เดือนที่ผ่านมาเราใช้อะไรไปบ้าง แล้วก็ได้แต่มานั่งกลุ้มใจ แต่เรื่องเงินทองนี้ เราควรที่จะคิดวางแผนเอาไว้เลยว่า เราจะใช้อะไร เท่าไหร่ อย่างไร ที่เราจำเป็นจะต้องใช้ จะต้องชื้อ และไม่ซื้อไม่ได้ และอะไรที่เราสามารถจะประหยัดได้ การวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้า หรือวางแผนวงจรค่าใช้จ่าย จะช่วยให้เราสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เพราะจะทำให้เราชั่งใจก่อนจะซื้อของที่ไม่จ่าเป็น หรือว่าฟุ่มเฟือย
การคำนวณรายจ่ายล่วงหน้า เราควรที่จะแบ่งรายจ่ายออกเป็น 3 ประเภท เพื่อง่ายต่อการคำนวณ ได้แก่
1.รายจ่ายประจำ อันได้แก่ รายจ่ายที่สามารถบอกได้แน่นอน ว่าในเดือนๆ หนึ่งจะต้องจ่ายเท่าไหร่ อย่างเช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าประกัน ค่าเทอมลูก หรือว่าดอกเบี้ยเงินกู้ต่างๆ ซึ่งเงินเหล่านี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องจ่ายเป็นประจำทุกๆ เดือน
2.รายจ่ายแปรผัน รายจ่ายแปรผันเป็นรายจ่ายที่เราจะต้องจ่ายทุกเดือน เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถที่จะควบคุมได้แน่นอนว่า ในแต่ละเดือนเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้เดือนละเท่าไหร่กันแน่ อย่าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่านํ้ามัน ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งรายได้เหล่านี้เราไม่สามารถคำนวณให้แน่นอนได้ แต่เราสามารถที่จะพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย ไม่ให้บานปลายจนเกินกว่าที่เราจะจ่ายไหวได้
3.ค่าใช้จ่ายพิเศษ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถควบคุมได้ หากว่าเราจะทำ เพราะค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกสันทนาการ อย่างดูหนัง ฟังเพลง กินข้าว ของขวัญ ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งในแต่ละเดือนเราก็ควรจะมีงบสำหรับสิ่งบันเทิงเริงรมย์บ้าง เพื่อให้สมองของเราได้ผ่อนคลาย แต่ก็อย่าลืมว่าเรามีงบในส่วนนี้อย่างจำกัด อย่าใช้จนเพลิน ทำให้ต้องมานั่งปวดหัวในภายหลังได้ก็แล้วกัน
หากว่าเราสามารถที่จะคาดคะเนรายจ่ายของเราได้ล่วงหน้า เราก็จะมีสติในการใช้เงิน และคำนึงถึงงบประมาณในการใช้จ่ายในส่วนต่างๆ มากขึ้น ทำให้เราใช้เงินได้อย่างระมัดระวัง และไม่ต้องมานั่งชักหน้าไม่ถึงหลังทีหลังได้
อย่าคิดว่าการสรุปรายรับรายจ่าย และเงินคงเหลือจำเป็นสำหรับบริษัทห้างร้านเท่านั้น ชีวิตส่วนตัวของเราก็สามารถที่จะท่าบัญชีรายรับรายจ่าย วงจรค่าใช้จ่ายได้ เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าในเดือนๆ หนึ่งนั้น เราใช้เงินไปเท่าไหร่ และมียอดคงเหลือเท่าไหร่ ซึ่งการสรุปนี้ ไม่ใช่เฉพาะทำตอนใช้แล้วเท่านั้น แต่ต้องทำก่อนที่จะใช้ เพราะเราจะได้รู้ ว่าเงินของเรามีเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ และหากว่าไม่พอ เราสามารถที่จะตัดงบประมาณส่วนไหนออกไปได้บ้าง เพื่อที่จะไม่ต้อง มานั่งเครียดทีหลังว่าจะทำอย่างไรดื เมื่อเงินใช้ไม่พอในแต่ละเดือน