ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขายทุเรียนได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนถือว่าเป็นช่วงกอบโกยของพ่อค้าแม่ค้าขายทุเรียนเลยทีเดียว ด้วยรสชาดอร่อย หวาน ที่ใครๆ ที่ได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ ซึ่งทุเรียนก็มีให้เลือกขายได้หลายสายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความอร่ยมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่หลายๆ คนยอมรับว่ามันอร่อยจริงๆ แต่พันธุ์ก็ไม่ได้น้อยหน้านะครับ แล้วแต่ตลาด แล้วแต่คนชอบครับ
ประวัติทุเรียนในไทย
ในหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสมัยอยุธยา ที่เขียนขึ้นโดย เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ นักบวชนิกายเยซูอิต หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศญี่ปุ่นในสมัยนั้น ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2336 ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า “ดูเรียน” (Durion) หรือที่ชาวสยามในสมัยนั้นเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหน และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง
จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการกระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 ในระยะต้นเป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด สำหรับผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง 3 พันธุ์ไม่ได้ จึงใช้เมล็ดจากทั้ง 3 พันธุ์นั้นปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย ซึ่งรายชื่อพันธุ์ทุเรียนเท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารได้ มีถึง 227 พันธุ์
วิธีสังเกตทุเรียนสุก
– สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน
– สังเกตหนาม ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้น เมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ายืดหยุ่น
– สังเกตรอยแยกระหว่างพู ผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัดเจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว
– การชิมปลิง ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออก จะพบน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อน และเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน
– การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม เมื่อเคาะเปลือก ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวม ๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกและ เนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่าง กันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน
– การปล่อยให้ทุเรียนร่วง ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในแต่ละต้นจะบานไม่พร้อมกัน และมีช่วงต่างกันไม่เกิน 10 วัน ดังนั้น เมื่อมีผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่ สุก และร่วง ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า ผลทุเรียนที่เหลือในรุ่นนั้นแก่แล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้
– การนับอายุ โดยนับอายุผลเป็นจำนวนวันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 100 – 105 วัน เป็นต้น การนับวันหรืออายุของผลจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละปี และในแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น ถ้าปีใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ผลทุเรียนจะแก่เร็วกว่าปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า
การขายทุเรียนแบบทั่วๆ ไป
ทุเรียนปัจจุบันที่เอามาขายมักจะเป็นทุเรียนอ่อน แล้วป้ายยาเร่งสุก ผลคือจะได้รสจืดๆ หรือหวานน้อย ผลข้างเคียงคือกินแล้ว ถ้าคนแพ้ง่ายๆ อาจทำให้เกิดผมไม่แน่ใจว่ากินแล้วเป็นทุกคนรึเปล่า แต่บอกเพื่อให้ระวังตัว ให้หลีกเลี่ยงการกินทุเรียนอ่อน สังเกตว่าถ้าที่ก้านตรงปลายมีสีเหลืองคือป้ายยาเร่งสุก อนุมานได้ว่าทุเรียนอ่อน วิธีดูทุเรียนแก่ผมใช้หลักการของสมัยก่อน ทุเรียนนนท์ พ่อค้าแม่ค้าจะถนอมปลิง คือ ก้านทุเรียนมาก ทุเรียนแก่ปลิงจะเปราะมาก ถ้าเราไปงอจะหัก หรือบางทีไปจับตรงปลิงแล้วยกก็หักแล้ว เวลาเลือกทุเรียนปัจจุบันผมจะลองหักปลิง ถ้าหักแล้วงอ จะเป็นทุเรียนอ่อน
ทุเรียนสวนจะนิยมยกขายกันเป็นลูกๆ ตามคุณภาพของผล ไม่ได้ชั่งกิโลขายตามน้ำหนักเหมือนทุเรียนทั่วไป แต่ก็พอจะเทียบเคียงราคาหาค่าเฉลี่ยตามน้ำหนักได้อยู่ เช่น ทุเรียนพันธุ์หมอนทองโดยมากถ้าคิดเป็นน้ำหนักจะตกกิโลกรัมละ 200-250 บาท หรือถ้าเป็นพันธุ์ก้านยาวแท้ ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่กิโลกรัมละตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป
ทุเรียนก้านยาวบางลูก ผลมีขนาดใหญ่สมบูรณ์มาก น้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม บางปีให้ผลผลิตออกมาสวนละไม่ถึง 10 ลูก มีคนจับจองกันตั้งแต่อยู่บนต้น ฉะนั้นจะขายให้เหล่าเศรษฐีกินลูกละ 10,000 บาท จึงไม่ใช่เรื่องแปลก
หาทุเรียนของแท้สังเกตได้ไม่ยาก ส่วนใหญ่จะมีฉลากหรือสติกเกอร์ติดอยู่ที่ขั้วผลหรือปลิง ที่ฉลากจะระบุชื่อเจ้าของสวน สายพันธุ์ทุเรียน และเบอร์โทรศัพท์เจ้าของสวน เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพ หรือคืนสินค้าเมื่อไม่พอใจ เช่น หากซื้อทุเรียนอ่อนไป มีลักษณะเมล็ดสีซีด เนื้อไม่เหลือง สุกแล้วเละ รสชาติไม่หวานมัน เจ้าของสวนที่มีฉลากติดอยู่ที่ขั้ว ยินดีคืนเงิน หรือเปลี่ยนลูกใหม่ให้ หรือกรณีที่ซื้อทุเรียนเสีย แกลบ ห้าว เน่า หรือถูกหนอนเจาะไปแล้ว รับประทานไม่ได้เป็นบางพู เจ้าของสวนยินดีคืนเงินให้ตามสัดส่วนพูที่เสียหาย แต่ทั้งนี้ การเน่าเสียต้องไม่เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น นำทุเรียนดิบไปใส่ไว้ในรถยนต์ที่จอดตากแดด หรือวางไว้บนพื้นซีเมนต์ โดยไม่มีกระดาษหรือผ้ารอง ทำให้สุกช้า
นอกจากนี้ การคืนยังต้องนำทุเรียนทั้งลูก พร้อมฉลากที่ขั้วผล ติดแสดงไปด้วย
ทุเรียนที่จะขายได้ราคาแบบนี้ เจ้าของสวนจะต้องเป็นสมาชิกชมรมทุเรียนประจำจังหวัดด้วยนะครับ เพราะทางชมรมจะดูแลและควบคุมคุณภาพการปลูกตั้งแต่การเตรียมดิน และหากเป็นสวนใหม่ที่แจ้งความประสงค์จะทำสวนทุเรียน ทางชมรมจะจัดหาต้นพันธุ์ทุเรียนแท้ให้ และแนะนำพร้อมเชิญชวนไปศึกษาเทคนิคจากสวนเก่าแก่ชื่อดังประจำจังหวัด เมื่อทุเรียนออกผล ทางชมรมจะตรวจคัด และลงทะเบียนมีเลขรหัสทุกลูกที่คุณภาพได้มาตราฐาน หากจะจองทุเรียนก็จองกันตอนนี้แหล่ะครับ
การจะซื้อทุเรียนแท้ของประจำจังหวัดมีสองวีธี คือดูฉลากกำกับรายละเอียดสวนที่ปลูกที่ติดที่ขั้วก้านผลทุเรียน หรืออาจโทรสอบถามก่อนก็ได้ หรืออีกวิธีคือ ผมขอแนะนำให้ซื้อกับชาวสวนครับ แบบซื้อถึงสวนเลย
ทุเรียนถ้ากินตรงฤดูอร่อยทั้งนั้นครับ ถูกหรือแพง คงขึ้นอยูกับผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งถ้าเราได้ปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตของท้องถิ่นให้ดีที่สุดในแต่ละพื้นที่ผลิต เช่น มะพร้าวน้ำหอมสามพราน มะยงชิดนครนายก ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ลองกองตันหยงมัสนราธิวาส เป็นต้น น่าจะทำให้มูลค่าผลผลิตนั้นๆ ดีขึ้นได้มากขึ้นครับ