ความไม่ยั่งยืนของการยืนอยู่บน “Marketing share” หรือการครองส่วนแบ่งของตลาดที่มีการแข่งขันอยู่อย่างสูงในแทบทุกตลาดในปัจจุบันนั้นนั้นก็มาจาก การที่ไม่สามารถเข้าไปครองใจ หรือเข้าไปกระแทกจิตใจของกลุ่มผู้บริโภคได้นั้นเองหรืออาจจะเรียกได้ว่า “ไม่สามารถสร้าง Brand Awareness” ได้นั้นเอง ในยุคปัจจุบันการที่จะสามารถให้สินค้าหรือบริการหนึ่งชิ้นนั้นครองใจ และสร้างความเป็น Loyalty ได้นั้นนับว่าเป็นเรื่องสุดหินและยากเลยที่เดียว ฉะนั้นรูปแบบการทำการตลาดเพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ให้กับกลุ่มผู้บริโภค และเดินการตลาดเพื่อสร้างความจดจำและสร้างความตราตรึงของประสบการณ์อันดีที่มากจากการบริโภคสินค้าได้นั้นเรียกกว่าการตลาดแบบ “Experiential Marketing”
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในปัจจุบันนั้นความต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้านั้น “ในการซื้อสินค้าสินค้าสักหนึ่งชิ้นนั้น ความต้องการที่ได้รับนั้นไม่ใช่เพียงการได้ของชิ้นนั้นมาอุปโภคบริโภค” แต่เป็นการสร้างความประทับ สร้างประสบการณ์สร้างประโยชน์มากกว่าสิ่งที่ควรได้รับ ตามหลักแนวคิดในอดีตและแนวคิดเช่นนี้กำลังถูกบวกผนวกเข้ากับการวางแผนการตลาดในยุคใหม่ยุคปัจจุบันเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสริมสิ่งใหม่ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ที่จะบ่งบอกความเป็น Brand นั้นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อหลังจากที่จบขั้นตอนการบริโภคครั้งนี้ไปแล้วนั้น จะต้องมีเกิดการซื้อซ้ำอันเกิดจากประสบการณ์อันดีต่อสินค้าและบริการ
การวางแผนการตลาดเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์อันดี หรือ “Experiential Marketing” โดยหลักอาจจะเกิดขึ้นมาจาก สามขั้นตอนของการมีส่วนรวมระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค
ขั้นแรก “กิจกรรมของก่อนการขาย” โดยในขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนแรกที่จะเข้าชนและสร้าง First Impression ให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้นขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบข้อมูล การนำเสนอผ่านสื่อหรือผ่าน Sales Man แต่ไม่ว่าจะเกิดขั้นตอน วิธีการใด ผ่านช่องทางใดการให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์อันดีจากการส่งมอบข้อมูล เพื่อชูสินค้าและบริการให้โดดเด่นนั้นถือว่าเป็นจุดที่สำคุญมากจุดหนึ่งเลยทีเดียว
ขั้นที่สอง “กิจกรรมของระยะการขาย” ในขณะที่เกิดขั้นตอนการขายเกิดขั้น หลังจากที่ผู้บริโภคมีข้อมูลอยู่แล้วนั้นการที่จะปิดการขายพร้อมกับการสร้างประสบการณ์อันดีและภาพลักษณ์อันดีไปด้วยนั้น หากสามารถสร้างโอกาสดีเช่นนี้ถือว่าการขายจะประสบความสำเร็จมากกว่าที่เพียงจะขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่นั้นจะเป็นเครื่องหมายว่าเมื่อวันใดที่ลูกค้าต้องการสินค้าหรือบริการเช่นนี้จะต้องกลับมาหาองค์กรของเราแน่นอน
ขั้นสุดท้าย “ขั้นตอนของหลังการขาย” ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นการสร้างความรู้สึกดีเพื่อแสดงออกถึงความห่วงใยและการให้ความสำคัญกับลูกค้าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ CRM หรือการสนับสนุนภาพลักษณ์ที่ดีด้วยการทำบริการหลังการขาย
ไม่ว่าในขั้นตอนใด ระยะใดใน หรือไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดใดที่จะต้องแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้านั้นการสร้างความรู้ที่ดี ประสบการณ์ที่ดี และทั้งหมดนั้นสิ่งที่จะต้องสื่อออกให้ชัดเจนเลยนั้นก็คือ “ความรู้สึกให้อยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง” นั้นเอง