คะน้าเป็นผักที่นิยมทานมากในปัจจุบัน นิยมรับประทานทั้งลำต้น และใบ เนื่องจากมีความกรอบ หวาน ไม่เหม็นเขียว มักประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นผัด และทอด
คะน้าเป็นพืชล้มลูกอายุได้ประมาณ 2 ปี โดยมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย แต่นิยมเก็บต้นมารับประทานประมาณ 45-60 วันหลังจากมีการหยอดเมล็ด จะมีการเจริญเติบโตได้ในทุกลักษณะดิน แต่ได้ดีที่สุดจะเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทราย ที่มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี สำหรับคะน้าจุดเด่นคือสามารถทนต่อความร้อนและแห้งแล้งได้ดี แต่สามารถให้ผลผลิตได้มาที่สุดในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบใหญ่มีสีเขียวนวล นิยมนำมารับประทานรองจากยอด
-ใบ มีลักษณะที่หลากหลายตามแต่ละสายพันธุ์ โดยบางพันธ์จะมีใบที่กลม บางพันธ์แหลม โดยที่ใบจะแตกออกจากลำต้นประมาณ 4-6 ใบต่อต้น โดยผิวของใบจะมีลักษณะเป็นคลื่นมีสีเขียวอ่อนถึงแก่
-รากประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ ต่อจากลำต้น หยั่งลึกไปในดินประมาณ 10-30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพของดินด้วย มีสีขาวออกน้ำตาลเล็กน้อย ส่วนรากฝอยจะเป็นสีน้ำตาล ไม่ค่อยเห็นสักเท่าไหร่
คะน้าที่นิยมปลูกในไทยนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ คือ
1.คะน้าพันธุ์ใบกลม พันธุ์นี้จะมีลักษณะใบกว้าง ใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน และตรงผิวใบจะเป็นคลื่นเล็กน้อย
2.คะน้าพันธุ์ใบแหลม พันธุ์นี้จะมีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง และผิวใบเรียบ
3.คะน้าพันธุ์ยอดหรือก้าน พันธุ์นี้จะมีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าพันธุ์ใบแหลม แต่ปล้องยาวกว่า และจำนวนใบจะมีน้อยกว่า
การเพาะต้นกล้า
1.ในการเพาะต้นกล้าสิ่งแรกที่เกษตรกรจะต้องมีการดำเนินการจัดเตรียมคือการเตรียมแปลงเพาะ โดยมีความกว้างอยู่ที่ 1 เมตร ในส่วนของความยาวไม่กำหนด ตามความเหมาะสมของพื้นที่ได้เลย
2.ขั้นตอนการเตริมดินสำหรับการเพาะต้นกล้า จะต้องมีการขุดไถพรวนเป็นอย่างดี จากนั้นทำการตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ต่อด้วยการย้อยหน้าดินให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว ลงคลุกเคล้ากับหน้าดินให้ทั่วทั้งแปลง
3.การเพาะเมล็ด จะให้วิธีการหว่านเมล็ดให้กระจายตามแปลงที่ได้มีการจัดเตรียมไว้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ต่อด้วยการกลบเมล็ดพืช(คะน้า) ด้วยดินหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัว โดยในการกลบหน้าดินจะต้องมีความหนาอยู่ที่ 0.6-1 เซนติเมตร ต่อด้วยการคลุมด้วยฟาง หรือหญ้าแห้งเพื่อป้องกันวัชพืชและเป็นการรักษาความชื้นของหน้าดิน
4.หลังจากมีการหว่านเมล็ด ต้นกล้าจะมีการงอกภายใน 1 อาทิตย์ กำจัดต้นที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรงออกไป และเป็นการเพิ่มความแข็งแรกของต้นกล้าแนะนำให้เกษตรกรผสมสารละลายสตาร์ทเตอร์โวลูชั่นในน้ำแล้วนำไปรดบริเวณต้นกล้า เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 30 วันก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้ต่อไป
วิธีการปลูกต้นคะน้า
สามารถปลูกได้ 2 แบบได้แก่
1.การหว่านกระจายทั่วแปลง สำหรับวิธีการปลูกแบบการหว่านนี้ เหมาะสมหรับการปลูกในแปลงใหญ่ และปลูกเพื่อการค้า
2.การปลุกแบบแถวเดียวการปลูกลักษณะนี้จะเหมาะสมสำหรับการปลูกในแปลงเล็กๆ สามารถรดน้ำได้ด้วยบัวรดน้ำ
แต่ที่สำคัญที่เกษตรกรจะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือระยะห่างระหว่างปลูก โดยให้มีระยะห่างระหว่างต้นและแถวอยูที่ 20×20 เซนติเมตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกแปลงเล็กหรือแปลงใหญ่ มาตรฐานเท่ากันหมดครับ
ขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูก
1.เริ่มต้นด้วยการขุดดินให้มีความลึกอยู่ที่ 15-20 เซนติเมตร แล้วพักหน้าดิน เพื่อกำจัดวัชพืชและเชื้อโรคในดินด้วยการตากหน้าดินทิ้งไว้ 7-10 วัน
2. ต่อด้วยการผสมดินที่ขุดกับปุ๋ยคอก มูลสัตว์ คลุกเคล้าให้เข้ากัน เป็นการปรับปรุงสภาพของดินให้มีความพร้อมในการเพาะปลูก
3.ต่อด้วยการพรวน เพื่อย่อยหน้าดิน โดยเฉพาะแปลงที่จะใช้สำหรับการหว่านเมล็ด เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดพืชตกลงในดิน เพราะรากจะไม่งอก
4.กรณีที่ดินเป็นกรดแนะนำให้ใช้ปูนขาวเพื่อปรับให้ดินอยู่ในสภาพที่เหมาะสม
การดูแลรักษาต้นคะน้า
1.การให้น้ำ สำหรับต้นคะน้า เป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เพราะเป็นพืชที่เจริญเติบโดตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นก่อนที่จะมีการเพาะปลูกจะต้องมีการเตรียมการเรื่องปริมาณน้ำที่เพียงพอ โดยวิธีการให้น้ำเกษตรกรสามารใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ทุกวันทั้งเช้าและเย็น
2.การใส่ปุ๋ย เนื่องจากคะน้าเป็นพืชที่ต้องการธาตุ ไนโตรเจนสูง แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ในปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ทั้งนี้ปริมาณของปุ๋ยจะต้องขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดินด้วยนะคะ ในส่วนของปุ๋ยคอกสามารถแยกได้ 2 ครั้ง คือหลังจากการถอนแยกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากวันที่ปลูกคะน้า สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 45-55 วัน ช่วงวันที่ 50-55 จะเป็นช่วงที่คะน้าให้น้ำหนักดีที่สุด วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตสามารถทำได้ดังนี้คือ ให้ใช้มีดคม และสะอาดตัดให้ชิดโคนต้นอย่างเบือที่สุด ระวังอย่าให้ช้ำ โดยการไล่ตัดเป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง หลังจากมีการตัดทำการมัดด้วยเชือกกล้วย มัดละ 5 กิโลกรัม
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี
1.ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวมากที่สุด คือช่วงเช้า
2. ไม่แนะนำให้ใช้มือเก็บ หรือเด็ดลำต้นคะน้า เพราะจะทำให้ลำต้นชำ ไม่สวย ไม่น่ารับประทาน