มะระจัดเป็นผัดชนิดหนึ่งที่ต้องอาศัยเถาในการเลื้อยและพยุงลำต้นให้ติดกับค้าง จัดเป็นพืชเถาที่สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล สามารถขึ้นได้ดีกับดินทุกประเภทแต่ทั้งนี้ในดินจะต้องมีความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ที่สำคัญต้นมะระจะต้องได้รับแสงแดดที่เพียงพอ
มะระกับโภชนาการ
มะระ นิยมใช้ผลเพื่อการบริโภคเป็นผัก ซึ่งจะเป็นที่นิยมเป็นหมูมากสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน โดยการนำมาต้ม แกง รวมไปถึงใช้เพื่อรักษาและแก้โรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น โรคท้องร่วง โรคผิวหนัง บำรุงโลหิต
มะระจัดเป็นผักที่ประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง แม้ว่าจะมีรสชาติที่ค่อนข้างขม โดยผลเล็กจะให้วิตามินได้มากกว่าผลใหญ่ นอกจากผลแล้วยอกของมะระสามารรถนำมาประกอบอาหารอร่อยได้ไม่แพ้กัน
พันธุ์ของมะระ
มะระจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับแตง โดยจะมีดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่ต้นเดียวกัน ในการผสมละอองเกสร จะใช้แมลงเป็นตัวช่วยเพื่อให้เกิดผล ซึ่งมะระเองประกอบไปด้วยหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละพันธุ์จะมีความแตกต่างไปตากมาสีและเมล็ดของพันธุ์นั้นๆ เท่าที่ปลูกในประเทศไทยเราสามารถจำแนกออกได้ดังนี้
1.มะระจีน จะเป็นมะระผลใหญ่โดยความยาวอยู่ที่ 20-30 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร เปลือกมีสีเขียวอ่อน เนื้อหนา รสชาติไม่ขมมากนัก เริ่มแรกโดยการนำสายพันธุ์เข้าจากประเทศจีน ปัจจุบันได้มีการปลูกเพื่อการค้ากันมากขึ้น
2.มะระย่างกุ้ง สำหรับมะระชนิดนี้สามารถสังเกตได้อย่างง่ายดาย ดูตรงสวนของผิว จะมีลักษณะขรุขระเป็นหนาม ขนาดของผลเรียว เล็ก โดยหัวท้ายจะมีรูปร่างแหลม
3.มะระขี้นก เป็นมะระที่ขนาดเล็กที่สุด ขมจัด มีผลค่อนข้างกลมเล็กผิวขรุขระ เนื้อบาง
การเตรียมปลูกและการปลูกระมะ
สำหรับมะระ ไม่ใช่เรื่องยากในการปลูก เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตและชอบสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน ลำต้นจะมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยยาว 1-3 เมตร สำหรับฤดูการปลูกมะระได้ผลดีที่สุดจะเป็นช่วงพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
แม้ว่ามะระเองจะสามารถเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ จำเป็นอย่างมากสำหรับเลือกสถานที่ในการเพาะปลูกที่มีความชิ้นในดินค่อนข้างสูง โดยรวมจะต้องมีอุณหภูมิ 18-25 องศา สำหรับสภาวะอากาศที่เย็น หรือต่ำกว่านี้จะส่งผลให้ต้นมะระและขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดแต่ดินจะต้องมีความชื้นเพียงพอและต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน อุณหภูมิที่พอเหมาะอยู่ที่ 18-25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเย็นจัด จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นมะระช้าลง โดยทั่วไปแลเวเกษตรนิยมปลูกในช่วงหลังฤดูการเกี่ยวข้างเสร็จไปแล้ว
การเติมดินสำหรับการปลูกมะระ
ขั้นตอนสำหรับการเตรียมแปลงเพื่อการเพาะปลูก เกษตรกรจะต้องมีการไถลึก 20-25 เซนติเมตร เพราะมะระเป็นพืชที่มีระบบรากที่ค่อนข้างลึก
เมื่อได้ปรับสภาพดินเสร็จจะต้องมีการเพิ่มปุ๋ยคอก หรือปูนขาวลงไปคลุกเคล้ากับหน้าดินที่ได้ทำการไถไว เพื่อช่วยให้ดินสามารถระบายได้เป็นอย่างดี
ทำการยกร่อง แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ของมะระลงหลุม หลุมละ 3-4 เมล็ด กลบดินตามด้วยการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อปล่อยไปประมาณ 2 อาทิตย์จะสังเกตเห็นเลยว่ามีต้นอ่อนทีกำลังขึ้นอย่างสวยงาม เกษตรกรกำจัดต้นอ่อนที่อ่อนแอทิ้ง เพื่อไม้ให้มาแย่งสารอาหาร โดยให้เหลือเพียงแค่ 1-2 ต้นเท่านั้น
ระยะห่างระหว่าหลุม เกษตรกรจะต้องเว้นช่วงอยู่ที่ 50-75 เซนติเมตร และจะต้องมีระยะห่างระหว่างแถวอยู่ที่ 1 เมตร
การดูแลรักษาต้นมะระ
ในการดูแลต้นมะระ จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งหากเป็นช่วงที่ออกดอกและติดผล จะปล่อยให้ขาดน้ำไม่ได้เลย ในส่วนของการพรวนดิน จะต้องทำในระยะแรงหลังจากเริ่มปลูก และควรทำบ่อยๆ ควบคู่ไปกับการกำจัดวัชพืชไปด้วย เนื่องจากวัชพืชเหล่านี้จะคอยแย่งน้ำและสารอาหารของต้นมะระ สำหรับการพรวนดินจะต้องระมัดระวังอย่างมากอย่าให้กระทบกระเทือนไปโดนรากของต้นมะระ
การเก็บให้ปุ๋ยมะระ
เนื่องจากตัวมะระเองต้องการความสด สัดส่วนของปุ๋ย N:P:K = 1:1:1-1.5 ได้แก่ปุ๋ยจำพวกสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 ในปริมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ สำหรับปุ๋ยสูตรผสมควรให้หลังจากมีการปลูกมะระได้ 1 เดือน ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงทำค้าง
การทำค้าง
จะทำค้างให้แก่ต้นมะระภายหลังจากมีการปลูกต้นมะระได้ 15 วัน โดยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ ปักไม้ค้างยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ทุกหลุมเอนเข้าหากัน แล้ววางไม้พาดตามแนวนอน 2 ช่วง อีกวิธีคือ การปักไม้ค้างที่มีความยาว 2 เมตรทุกหลุม ทุกๆ 1.5-2 เมตร ขนาดกับแถวปลูก จากนั้นเกษตรกรใช้เชือกผู้ทแยงทุกๆ 30 เซนติเมตร
ฤดูการเก็บเกี่ยว
มะระจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เมื่อมีอายุ 45 วัน ในการเก็บจะต้องมีการเก็บทุกวัน ถ้าปล่อยให้มีผลแก่ติดกับต้น มีส่วนทำให้ผลไม่ตกและร่วงมากขึ้น มักนิยมเก็บในช่วงที่ผลยังอ่อนอยู่ ผลมีสีเขียว และถ้าผลมีสีครีมและแตกนั่นแปลว่าผลมะระผลนั้นแก่จัดจนเกินไป