เกาลัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน โดยทั่วไปจะพบเกาลัดหรือลูกเกาลัดชนิดมีขนคล้ายเงาะที่เปลือกหุ้มเมล็ดเกาลัด ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ใน 1 ผล มี 2-3 เมล็ด ผลสุกแก่เปลือกนอกจะปริแตกออก เปลือกในจะมีลักษณธสีน้ำตาฃแข็งและเหนียว หุ้มเนื้อในไว้อีกชั้นหนึ่ง ใบมีลักษณะเรียวแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อย ช่อดอกมีรูปร่างคล้ายพวงหางกระรอกมีสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน
เกาลัดมีรสชาติดี หวาน มัน และมีความอร่อยมาก จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูง เกาลัดได้รับการยกย่องจากชาวจีนว่าเป็น “ราชาแห่งเมล็ดพันธุ์พืช”
เกาลัดที่ปลูกในประเทศไทยนั้นก็สามารถให้ผลผลิตที่ดี อีกทั้งยังปลูกได้ตั้งแต่ภาคเหนือไล่ลงมาจนถึงภาคกลางกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็เป็นเพราะมีการพัฒนาสายพันธุ์ของเกาลัดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถในการปลูกเกาลัดให้มากขึ้นนั่นเอง
เกาลัดเป็นไม้ที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสร้างลำต้น อีกทั้งเกาลัดมีใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ไม่ค่อยร่วง จึงสามารถให้ร่มเงา กรองฝุ่นละออง ลดมลภาวะ รวมทั้งลดสภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
วิธีการเพาะปลูก ในปัจจุบันมีการปลูก 2 แบบ คือแบบกิ่งตอนและแบบเมล็ด แบบเมล็ดจะมีรากแก้วที่ยาว มีอายุยืนกว่าและหาอาหารได้ดีกว่า แต่แบบกิ่งตอนต้นจะเจริญเติบโตได้ไวกว่า เก็บผมผลิตได้เร็ว และลดอัตราการกลายพันธุ์ได้ ลูกเกาลัดหรือเมล็ดเกาลัดโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 6-7 ปีจึงจะผลิดอกออกผล ต้องใช้เวลาและต้องรู้จักอดทนรอคอย
การเพาะเมล็ด นำเมล็ดที่ได้มาไปแช่ในน้ำอุ่น 3 – 4 ชั่มโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการงอก จากนั้นนำไปใส่ในถาดเพาะโดยถมดินให้สูงเกือบมิดเมล็ด จากนั้นรดน้ำทุกวันทั้งตอนเช้าและตอนเย็น รอประมาณ 7 – 10 วัน เกาลัดเริ่มแตกใบเลี้ยงและมีรากงอกให้ย้ายไปลงในถุงเพาะชำอีกรอบหนึ่ง เมื่อเกาลัดแตกยอดใบแท้แสดงว่าเกาลัดของเรานั้นพร้อมที่จะนำไปลงปลูกในดินแล้ว
การปลูก สำหรับการปลูกเกาลัดนั้น ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือในช่วงฤดูฝน โดยระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 8×8 เมตร แต่ถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากก็ให้ใช้ระยะปลูกที่ 6×6 ส่วนขนาดของหลุมให้อยู่ที่ 1x1x1 เมตร แต่ก่อนปลูกต้องมีการปรับปรุงดินแล้วทิ้งไว้ 1-3 เดือน แล้วจึงสามารถทำการปลูกได้
การให้น้ำ ถึงแม้ต้นเกาลัดจะเป็นพืชที่สามารถทนแล้งได้ดี แต่ถ้าเป็นช่วงที่เริ่มปลูกควรที่จะให้น้ำกับมันอย่างสม่ำเสมอ และต้องหาวัสดุมาพลางแสงในช่วงที่ต้นเกาลัดยังไม่ตั้งตัวด้วย
การใส่ปุ๋ย สำหรับการใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง โดยเริ่มใส่ตั้งแต่ต้นเกาลัดอายุได้ 4-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรสมดุล 15-15-15 และเมื่ออายุ 1-3 ปี ให้ใช้สูตรเดิมแต่ให้นำมาผสมกับสูตร 46-0-0 ด้วย ซึ่งปริมาณการใส่ปุ๋ยก็ให้เพิ่มขึ้นตามอายุ พอถึงปีที่ 4 ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 ผสมกับสูตร 46-0-0 และให้เพิ่มปุ๋ยโปรแตสเซียมคลอไรด์ลงไปด้วย ในช่วงที่เกาลัดกำลังเป็นดอกแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหรือฉีดน้ำหมักสูตรบำรุงดอก บำรุงผลเพื่อเพิ่มผลผลิตครับ
การขยายพันธุ์ ในปัจจุบันสามารถขยายพันธ์ได้ 2 วิธีครับ คือการขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและการตอนกิ่งครับ
โรค ศัตรูและการป้องกันกำจัด
1.บางครั้งอาจพบแมลงที่ชอบวางใข่เพื่อให้ลูกเกิดเป็นตัวหนอนแล้วไชเนื้อเมล็ดเกาลัดเป็นอาหาร เจ้าตัวร้ายนั้นคือด้วงดินนั่นเองครับ ถ้าพอให้นำเมล็ดที่เจอนั้นไปทำลาย ละห้าวทิ้งเมล็ดนั้นไว้ในสวนด้วย แก้ปัญหาโดยการผสมเชื้อราเมธาไรเซียมไปราดลงบนดินในสวนให้ทั่วทั้งสวนครับ หรืออาจทำกองปุ๋ยหมักล่อด้วงแล้วราดเช้อราเมธาไรเซียมก็ได้ครับ
2.กระรอก เนื่องจากกระรอกจะกินตั้งแต่เปลือกหุ้มเมล็ดยังเป็นสีเขียว นำมาแทะเล่นแล้วทิ้งซากไว้ให้ดูต่างหน้าเป็นประจำ ส่วนที่สุกจนเปลือกหุ้มเมล็ดเป็นกำมะหยี่แดงก็มีโอกาสสูงที่จะถูกกระรอกกินเช่นกัน อย่างไรก็ตามกระรอกมักจะโปรดปรานมะม่วงมากกว่าลูกเกาลัด เนื่องจากกินมะม่วงง่ายกว่าการมาแทะลูกเกาลัดเปลือกแข็งนั่นเอง
3.แมลงศัตรูพืชทั่วไป แก้ปัญหาด้วยการฉีดน้ำส้มควันไม้หรือฉีดน้ำสะเดาหมักตะไคร้หอม ซึ่งจะเป็นการไล่แมลงไป จึงต้องต้องมีการฉีดอย่างสม่ำเสมอ หรือจะใช้เชื้อราบิวเวอเรียร่วมด้วยก็ได้ เพื่อจะทำให้การกำจัดแมลงมีประสิทธภาพเพิ่มขึ้น
เกาลัดเป็นพืชในตระกูลถั่วเปลือกแข็งที่มีไขมันไม่อิ่มตัวและมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้มันยังอุดมไปด้วยวิตามินอีที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์กับร่างกายอีกมาก เพราะฉะนั้นการรับประทานเกาลัดจึงเป็นผลดีกับร่างกาย ซึ่งส่งผลให้เกาลัดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้การปลูกเกาลัดในประเทศไทยจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจอีกอาชีพที่ไม่ควรมองข้ามนั่นเองครับ