ตำลึงเป็นผักพื้นบ้าน ที่ไม่ว่าใครต่างเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นที่นิยมนำมารับประทาน มีรสชาติที่หวาน อร่อย มีกลิ่นหอม เมนูแนะนำที่ได้จากตำลึงได้แก่ แกงจืด ลวกจิ้มน้ำพริก ผัด นอกจากจะใช้ประกอบอาหารแล้วยังเป็นหนึ่งพืชที่มีสรรพคุณทางยาอีกด้วยครับ
สภาพโดยทั่วไปของตำลึง
ผักตำลึง เป็นผักตระกูลเดียวกับผักจำพวกบวบ น้ำเต้า และแตงร้าน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดจากเอเชีย มีความทนแล้งทนฝนได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจว่าทำไมตำลึงสามารถขึ้นและเจริญเติบโตได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เนื่องด้วยตำลึงเป็นไม้เลื้อยที่ชอบพันเกาะเกี่ยว ดังนั้นเหมาะสมที่จะปลูกบริเวณรั้วบ้าน หรือทำซุ้มร้าน ให้ตำลึงได้เลื้อยพัน
การขยายพันธุ์ของตำลึง
ตำลึงสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 แบบ ได้แก่
1.การเพาะเมล็ด ในส่วนของการเพาะเมล็ด จะมีลักษณะคล้ายกับพืชทั่วๆ ไป แต่วิธีการขยายพันธุ์ลักษณะนี้ค่อนข้างที่จะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าการปลูกด้วยเถา
2.การปลูกด้วยเถา เป็นการปลูกง่ายๆ เพียงแค่เอาเถาตำลึงที่แก่มาตัดออกเป็นท่อนๆ มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว จากนั้นนำไปเพาะชำในกระบะเพาะชำ จะอาจนำไปปลูกเลยก็ได้
สำหรับการเพาะปลูกตำลึงจะดีที่สุด หากปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะต้นตำลึงจะงอกได้เร็วกว่าฤดูการอื่นๆ เพียงแค่เดือนเดียวก็สามารเก็บเกี่ยวผลผลิตและยอดเพื่อจำหน่ายและรับประทานได้แล้ว ข้อดีของตำลึงหากยิ่งเก็บมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งแตกได้มากเท่านั้น
วิธีการปลูกตำลึง
การเพาะเมล็ด
การคัดเลือดเมล็ด จะต้อมีการใช้เมล็ดจากผลแก่ แล้วหยอดลงในหลุม ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกตำลึงได้แก่ดินร่วนซุย
1.การเตรียมดิน โดยจะมีการเตรียมดินเหมือนกับการปลูกผักทั่วไป ด้วยการผสม คุกเคล้ากับปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยคอก ให้เข้ากันจากนั้นนำผลตำลึงแก่จัด สีแดงแกะเอาแต่เมล็ดมาโรยบนดินที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นกลบด้วยดิน และฟาง หรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงจะชอบดินชุ่ม แต่ไม่ใช่ดินแฉะ ในจุดนี้เกษตรกรเองจะต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่าให้ดินแฉะและมีน้ำขัง เพราะอาจทำให้เกิดโรครากเน่าและตายได้
2.เมื่อลำต้นของตำลึงงอกขึ้นมาได้ประมาณ 5 เซนติเมตร สังเกตเห็นมือเกาะ ให้เริ่มทำค้าง เพื่อที่ลำต้นจะได้ไต่ขึ้นที่สูงเพื่อรับแสง โยค้างจะต้องมีความสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป โดยจะต้องไม่เกิน 3 เมตร หากสูงกว่านี้จะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง
3.สำหรับการปลูกตำลึงนั้นเกษตรกรจะต้องพึงนึกเสมอเลยว่า ตำลึงเป็นผักที่ต้องได้รับแสงแดงตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ที่สำคัญตำลึงจะสังเคราะห์และคายน้ำได้อย่างเต็มที่ ในส่วนของศัตรูพืชไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เนื่องจากมดแดงตามต้นตำลึงจะคอยกินเพลี้ยและแมลงที่มากัดกินยอด
การปักชำด้วยเถา
เป็นวิธีที่เกษตรกรเลือกที่จะใช้ปลูกตำลึงมากที่สุดเนื่องจากการปลูกตำลึงด้วยวิธีการปักชำ จะทำให้ต้นตำลึงเจริญเติบโตและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ค่อนข้างเร็ว ให้เกษตรกรเลือกเถาที่มีความแก่พอสมควร มาตัดเป็นท่อนๆ ยาว 15 – 20 ซม. จากนั้นมาปักชำในหลุมที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ เมื่อมีการเจริญเติบโตได้ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บยอดอ่อนมาปรุงอาหารได้
เคล็ดลับในการทำให้ตำลึงมีการแตกยอกใหม่อยู่ตลอดเวลานั้น เกษตรกรจะต้องหมั่นเก็บยอดอ่อนตำลึงเป็นประจำ ซึ่งในขณะเดียวกันจะต้องมีการบำรุงดูแลลำต้นให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอด้วยการเติมปุ๋ยคอด ประมาณ เดือนละครั้ง หมั่นรดน้ำเสมอในหน้าแล้ง สำหรับช่วงฤดูฝนอาจมีการเว้นบ้าง แล้วค่อยกลับมารดใหม่ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง
การทำค้างให้กับต้นตำลึง
1.ค้างสำหรับต้นตำลึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากการทำค้างจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต ทั้งประโยชน์การเลื้อยของเถา และเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับต้นตำลึงได้รับแสงได้อย่างเพียงพอ
2.การปักค้างสำหรับตำลึง สามารถทำได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ค้างเดี่ยว ค้างกระโจม ค้างสามเหลี่ยม ค้างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค้างโค้ง ค้างแผง ในการทำค้างจะต้องคำนึงในเรื่องพื้นที่และความสูง หากสูงมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้ตำลึงสามารถเจริญเติบโตได้ดี
3.วัสดุที่นำมาทำค้าง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไม้ไผ่ ปักเป็นเสารอบๆ
การบำรุงดูแลรักษาต้นตำลึง
ส่วนใหญ่แล้วการดูแลรักษา ไม่ค่อยยุ่งยากเหมือนกับการปลูกพืชอื่นๆ เพราะที่เห็นตำลึงจะเป็นพืชที่ค่อนข้างทนทาน ทนต่อโรค ขึ้นและเจริญเติบโตได้เอง ตายยาก ดังนั้นเกษตรกรแทบจะไม่ต้องเข้าไปดูแลอะไรมากมายนัก
แต่ถ้าอยากให้มีการเจริญเติบโต ลำต้นมีความสมบูรณ์ ควรเอาใจใส่มันบ้าง ด้วยวิธีการหมั่นพรวนดิน ดายหญ้าและใส่ปุ๋ย โดยปุ๋ยอาจเป็นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกก็ได้