วิธีปลูกส้มโอ พร้อมคำแนะนำในการขายส้มโอ

ส้มโอเป็นไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติที่ดี เป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นสินค้าส่งออกนำเงินเข้าสู่ประเทศหลายสิบล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว จึงทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแถวภาคกลางของประเทศไทย

พันธุ์ส้มโอที่ในประเทศไทยนิยม บางพันธุ์มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ปลูกคนละที่ จึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป มี 2 ประเภทได้แก่

1.พันธุ์การค้าหลัก เช่น ขางพวง ขาวทองดี ขาวน้ำผึ้ง เป็นต้น
2.พันธุ์การค้าเฉพาะแห่ง เช่น ขาวแป้น ขาวหอม ขาวแตงกวา ท่าข่อย ขาวใหญ่ หอมหาดใหญ่ เจ้าเสวย กรุ่น เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของส้มโอ

ส้มโอจัดเป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร มีลำต้นเป็นเหลี่ยมที่รูปร่างไม่แน่นอน ภายในพุ่มของต้นส้มโอจะมีการแตกกิ่งก้านสาขาออกมา ขณะที่กิ่งอ่อนมีขนเล็กๆ ปกคลุมอยู่ เพื่อไม่ให้สัตว์ หรือแมลงกัดกินกิ่งอ่อน
ใบของต้นส้มโอ มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ กว้าง 1-12 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ฐานของใบมีลักษณะแหลมป้าน หรือกลม ส่วนปลายใบมีรอยเว้าเล็กน้อย
ผล ค่อนข้างกลม คล้ายๆ กับสาลี่ มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 10-30 เซนติเมตร มีลีเขียวแก่ หรือเขียวผมเหลือง เปลือกหนา ประมาณ1.5-2 เซนติเมตร มีเนื้อที่อ่อนนุ่ม มีสีขาว หรือชมพู แต่ละกลีบสามารถแยกออกจากกันได้ง่าย มีรสชาติหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว

แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการปลูกส้มโอ

แม้ว่าส้มโอจะสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ราบสูงลุ่มภาคกลาง แต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยองประกอบดังต่อไปนี้
1.พื้นที่ ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกจะต้องเป็นที่ที่สามารถระบายน้ำได้ดี บางที่อาจทำเป็นแนวร่องขึ้นมา และต้องมีความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ที่ 100-1500 เมตร
2.ดินจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีหน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดเป็นด่างเป็นกลาง หากสภาพดินไม่สมดุลอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโต ควรมีการปรับสภาพดินด้วยการใช้ปูนขาวเสียก่อน
3.สภาพภูมิอากาศ อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ที่ 15-30 องศาเซลเซียล ปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ 1,000-2,000 มิลลิเมตร รวมไปถึงแหล่งน้ำที่สะอาด และเพียงพอตลอดฤดูแล้ง

การขยายพันธุ์ส้มโอ

ในการขยายพันส้มโอสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น เพาะเมล็ด ติดตา เสียบกิ่ง และตอนกิ่ง แต่ที่นิยม คือการตอน เป็นวิธีการที่สามารถทำได้ง่าย หาอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่กลายพันธุ์ สามารถให้ผลได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญมีลำต้นที่ไม่สูงมากนัก ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

วิธีการปลูกต้นส้มโอ

1.สิ่งที่เกษตรกรจะต้องให้ความสำคัญ ในการปลูกส้มโอ คือการเตรียมพันธุ์ส้มโอที่ดี ไว้ล่วงหน้า 1 ปี ก่อนที่จะนำลงปลูก เพื่อที่จะให้ต้นกล้ามีความแข็งแรง
2.ขั้นตอนการเตรียมดิน จะต้องมีการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง จากนั้นทำการขุดหลุมขนาด 80×80 เซนติเมตร ระยะห่างในการปลูก ดินดี 8×8 เมตร คิดเฉลี่ยแล้ว 1 ไร่สามารถปลูกได้ประมาณ 25 ต้น แต่ถ้าเป็นดินเลว ให้เว้นระยะห่าง 6×6 เมตร 1 ไร่สามารถปลูกได้ 40 ต้น
3.เมื่อทำการขุดหลุมเสร็จให้ทำการแยกชั้นดินบนล่าง ตากแดดทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อที่จะให้แสงแดดกำจัดเพลี้ย หรือศัตรูพืชที่มากกับดิน
4.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักคลุกหญ้าแห้งพูนดินให้สูงจากปากหลุม 15 เซนติเมตร
5.วิธีการนำต้นกล้าลงปลูก ให้ขุดหลุมเท่ากับกระเปาะต้นกล้า แล้วกลบด้วยดินให้แน่น จากนั่นรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อป้องกันต้นกล้าโยกคลอน สามารถหาไม้มาดามไว้
6.สุดท้ายคือการพลางแสง จนกระทั่งแตกยอดอ่อนแล้วจึงค่อยงดการพลางแสง
การดูแลรักษา

การให้น้ำ ส้มโอที่มีการลงแปลงใหม่ๆ จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเห็นว่าต้นสามารถตังตัวได้แล้ว เจริญเติบโตดีแล้ว สามารถให้เป็นครั้งคราวได้

การใส่ปุ๋ย แนะนำให้มีการใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป ในช่วง 1-3 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงต้นให้แข็งแรงและสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ เมื่อออกดอกให้เปลี่ยนมาเป็นสูตร 8-24-24 หรือ 12-14-12 เพื่อช่วยในการสร้างดอก แต่เมื่อถึงเวลาดอกติดผลให้กลับมาใส่สูตร 15-15-15 เช่นเดิมค่ะ จะช่วยในการเจริญเติบโตของผล โดยทั่วไปแล้วส้มโอจะสามารถเติบโตได้เต็มที่เมื่อมีอายุ 5-6 ปี ในช่วงนี้สามารถใส่ปุ๋ยได้ครั้งละ 1 กิโลกรัม

การตัดตกแต่งกิ่ง เกษตรกรจะต้องทำการตัดกิ่งที่ขึ้นแข่งกับลำต้นออกให้หมด รวมไปถึงกิ่งที่แห้ง เหี่ยว ไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นระเบียบ มีโรค หรือแมลงทำลาย ด้วยความระมัดระวังอย่าให้แผลฉีก หลังการตัดควรใช้ยากันเชื้อรา หรือปูนกินหมากทาที่แผล เพื่อป้องกันแผลเน่า เศษที่เหลือนำมากองรวมไว้แล้วค่อยเอาไปเผานอกสวน

จัดว่าส้มโอเป็นพืชเศรษฐกิจที่ลงทุนน้อย เมื่อเทียบการลงทุนปลูกพืชชนิดอื่น สามารถทนโรคและภัยแล้งได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการเพาะปลูกทุกพื้นที่ ทนทานแบบนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแนวทางการทุนทางการเกษตร โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปวุ่นวาย หรือดูแลอะไรมากมายนัก

error: Content is protected !!