มะเขือเทศเป็นพืชชนิดที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียงแค่ 1 ปี ลักษณะของลำต้นจะตั้งตรงขึ้น มีขนอ่อนปกคลุม ประกอบไปด้วยใบประกอบที่อกสลับกันไปมา ส่วนในย่อยจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน บางใบมีลักษณะบางกลมและมีขนาดใหญ่ สวนบางใบนั้นมีรูปร่างเล็กรียาว ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นรอยหยักลึก คล้ายกับฟันเลื่อย มีขนอ่อนปกคลุม
ดอกของมะเขือเทศจะออกเป็นช่อ บ้างก็ออกเป็นดอกเดียวอยู่บริเวณซอกใบ มีสีเหลือง ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยงประมาณ 5-6 กลีบ สำหรับผลของมะเขือเทศนั้นเป็นผลเดี่ยวซึ่งรีรูปร่าง ขนาดและสีที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ 3-10 เซนติเมตร ผลจะประกอบไปด้วยผลกลม แบน และรี ผิวนอกจากมันแวว ผลดิบจะมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา ส่วนผลสุกประกอบไปด้วย แดง ส้ม เหลือง เนื้อภายในจะฉ่ำและมีรสชาติที่ค่อนข้างเปรี้ยว ซึ่งปกติแล้วเราจะเห็นมะเขือเทศที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมะเขือเทศนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น พันธุ์สีดา พันธุ์โรมาเรดเพียร์ เป็นต้น
ในการปลูกมะเขือเทศ ไม่แนะนำให้มีกาปลูกซ้ำกับพื้นที่เดิม หรือเคยปลูกพืชตระกูลเดียวกัน อาทิเช่น มะเขือ พริก หรือแม้กระทั่งยาสูบมาก่อน เนื่องจากจะทำให้เกิดการสะสมและเป็นเป็นของโรคต่างๆ เช่นโรคโคนเน่า อยู่ในดินอาจทำให้มะเขือเทศเกิดโรคเหล่านั้นและตายได้ในที่สุด
สภาพดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมะเขือเทศ
สำหรับดินที่เหมาะสมแก่การปลูกมะเขือเทศมากที่สุดนั้นควรจะเป็นดินร่วมที่ปะปนกับดินทรายเล็กน้อย และที่สำคัญต้องประกอบไปด้วยอินทรียวัตถุ ที่มีการระบายน้ำได้ค่อนข้างดี ด้านของความเป็นกรดเป็นด่างของดินควรอยู่ในปริมาณ 4.5-6.8 เพราะหากแตกต่างจากนี้มากจนเกินไป อาจทำให้ต้นมะเขือเทศขาดสารอาหาร หรือสะสมสารอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป และอาจก่อให้เป็นพิษต่อต้นพืชได้ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการทราบว่าดินเป็นกรด หรือเป็นด่างอยู่ในปริมาณที่เท่าไหร่นั้นสามารถเก็บตัวอย่างดินส่งไปตรวจสอบได้ที่กรมที่ดิน ซึ่งทางกรมที่ดินเองจะให้คำปรึกษาและแนวทางในการแก้ไขต่อไป
การเตรียมดินสำหรับการปลูกต้นมะเขือเทศ
การปลูกมะเขือเทศนั้นจะต้องพิถีพิถันเรื่องการเตรียมดินเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการการระขายน้ำได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญในที่นี้ต้องมีการกำจัดวัชพืชอกไปให้หมด เนื่องจากวัชพืชจะเข้ามาแย่งสารอหาร น้ำและแสงแดง ยิ่งไปกว่านั้นอาจเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงมาทำร้านต้นมะเขือเทศได้อีกด้วย สำหรับการเตรียมดินที่ดีตั้งแต่ต้นนั้นจะช่วยให้วัชพืชงอกช้าขึ้น
การเตรียมดินด้วยการไถพรวนหน้าดินให้มีความลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร โดยการใช้ผาน 4 และผาน 7 ทำการไถย่อยดินให้มีความละเอียดประมาณ 2 ครั้ง ปล่อยให้ดินตากแดดประมาณ 3-4 อาทิตย์ ในช่วงนี้หากสภาพดินเป็นดินเปรี้ยวแก้ด้วยการใช้ปูนขาวปรับสภาพดิน 100-300 กิโลกรัม มาโรยและไถกลบอีกรอบหนึ่ง โดยจะต้องใส่ปูนขาวก่อนที่จะลงต้นกล้า ประมาณ 2-3 อาทิตย์
การเพาะต้นกล้า สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1.กระบะเพาะต้นกล้า วิธีการนี้สามารถเพาะต้นกล้ามะเขือเทศออกมาได้ดี และสวยเนื่องจากเพาะในปริมาณที่ไม่มาก และมีการดูแลอย่างทั่วถึง สามารถใช้ดินมาอบ หรือตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน โดนดินทีนำมานั้นจะต้องเป็นดินในส่วนทีไม่เคยเกิดโรค กระบะที่ใช้การเพาะปลูกจะต้องมีขนาด 45-60 เซนิเมตร ส่วนด้านลึกต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยการใส่ดินที่ร่วนแล้ว 3 ส่วน ตามด้วยปุ๋ยคอกและดินทรายอย่างละ 1 ส่วนคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรับหน้าดินให้เสมอกัน โรยเมล็ดมะเขือเทศเป็นแถวแนวยาว แล้วกลบด้วยทรายบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นกล้าได้ประมาณ 15 วันจะเป็นใบจริงขึ้นมาประมาณ 2-3 ใบ ให้เกษตรกรย้ายลงเพาะในถุงเพาะชำขนาด 4-6 นิ้ว เมื่อต้นกล้ามีความสูง 30 เซนติเมตรก็สามารถนำลงแปลงปลูกได้เลยครับ
2.แปลงเพาะ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ต้องการต้นกล้าจำนวนมาก โดยวิธีการเช่นเดียวกับการเพาะชำในกระบะนั่นล่ะครับ เพียงเปลี่ยนจากกระบะมาเป็นแปลงที่ค่อนข้างจะดูแลยาก และไม่ค่อยทั่วถึง ทำให้ได้ต้นมะเขือเทศออกมาไม่สวยเท่ากับการเพาะในกระบะ โดยการเตรียมแปลงกว้าง 1 เมตร ในด้านของความยาวแล้วแต่พื้นที่เพาะชำเลย ระยะห่างระหว่างแปลงจะอยู่ที่ 50 เซนติเมตรผสมกับปุ๋ยคอกและทรายอัตราส่วนเท่ากันเลยครับคือ 3:1 วิธีการเพาะเมล็ดให้ทำการเรียงเมล็ดลงบนแปลงเพาะชะเป็นแถว โดยแต่ละเมล็ดห่างกัน 10 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าประมาณ 25-30 วัน หรือสังเกตเห็นใบจริงประมาณ 2-3 คู่ก็สามารถย้ายลงสู่แปลงปลูกได้เลย
3.ถาดเพาะกล้า เป็นวิธีการที่สะดวก ซึ่งพัฒนามาจากการเพาะกล้าในกระบะ โดยการเตรียมเมล็ดมะเขือเทศเพาะลงในถาด อายุต้นกล้าประมาณ 20 วันก็สามารถนำลงเพาะปลูกลงแปลงได้แล้ว
วิธีการปลูกมะเขือเทศ
1.เกษตรกรจะต้องดำเนินการไถและปรับหน้าดินให้เสมอกัน แล้วยกสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 100 เซนติเมตร
2.เพื่อป้องกันวัชพืช และรักษาความชื้นในแปลง ให้คลุมด้วยพลาสติกทึบแสง แล้วเจาะรูเฉพาะที่ต้องการปลูกต้นกล้าลงไป
3.ในการปลูกมะเขือเทศต้องมีระยะห่างระหว่างแถว 70 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร
4.จากนั้นให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 กระป๋องนม และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 20 กรัมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อยย้ายต้นกล้ามาปลูกหลุมละ 2 ต้น กลบดินให้เสมอกันอย่าให้เป็นแอ่งในช่วงหน้าฝน และฤดูร้อนกลบดินให้ต่ำกว่าปากหลุมเล็กน้อย
5.หลังจากย้ายต้นกล้าลงแปลงแล้วให้รดน้ำเช้า – เย็น จนกว่าที่ต้นกล้าจะสามารถตั้งตัวได้ แล้วค่อยลดเป็นช่วงตอนเย็นวันละครั้งก็เพียงพอแล้ว