มะเขือเปราะ หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่ามะเขือเสวย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีขนสั้นๆ ปกคลุมไปทั่วทั้งใบและลำต้น ลักษณะของผลที่เก็บเกี่ยวมานั้นมีลักษณะเป็นผลกลมแป้น สีสันของผลจะมีความแตกต่างไปตามสายพันธุ์ตัวอย่างเช่น พันธุ์ไวโอเลตคิง ประกอบไปด้วยสีม่วงอมขาว หรือจะเป็นมะเขือเปราะคางกบ จะเป็นผลที่มีสีเขียวเข้มลายขาว ลักษณะของผลจะกลมรี สำหรับมะเขือเปราะที่เรามักนิยมกินกันนั้นเป็นพันธุ์ เจ้าพระยา เป็นพันธุ์ดังเดิม ลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนมีริ้วๆ สีขาว มีเนื้อที่กรอบ รสชาติ หวานปนขมเล็กน้อยสามารถนำไปประกอบอาหาร หรือเป็นเครื่องเคียงทานคู่กับน้ำพริกอร่อยอย่าบอกใครเลยล่ะ
มะเขือเปราะเป็นพืชที่ปลูกง่ายรายได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องดูแล หรือทะนุถนอมอะไรมากนัก สามารถเติบโตได้ในดินทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดที่ ด้วยวิธีการการเพาะต้นกล้า โดยการคัดเลือกเมล็ดจากผลที่สุกจัด สำหรับการเพาะปลูก
วิธีการเพาะเมล็ด
1.การเตรียมดินละเอียดให้ผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 2 : 1 จากนั้นน้ำดินที่ผสมดังกล่าวมาใส่ในภาชนะ หรือถาดที่ใช้สำหรับเพาะต้นกล้า อย่าให้หน้าดินบางจนเกินไปนะคะ
2.จากนั้นให้ใช้ไม้ขนาดเล็ก หรืออาจใช้ไม่จิ้มฟันเลยก็ใช้กดลงไปในดินที่เราได้จัดเตรียมในข้างต้น ขนาดของความลึกอยู่ที่ 0.5 เซนติเมตร
3.จากนั้นเกษตรกรนำเมล็ดหยอดลงไปในหลุม หลุมละ 1-2 เมล็ด
4.สุดท้ายด้วยการกลบหน้าเมล็ดที่ได้ทำการหยอดด้วยดิน ถัดไปจากภาชนะให้นำปูนขาวโรยไว้รอบๆ ภาชนะที่เราได้ทำการเพาะปลูก
5.ประมาณ 7-10 วันจะเห็นได้เลยว่าเมล็ดของต้นกล้าจะเริ่มงอกให้ทำการรดน้ำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วันค่อยย้ายลงเพาะในกระถาง เพื่อที่จะได้นำลงแปลงปลูกต่อไป ในการย้ายลงกระถางจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากอย่าให้รากขาด หรือต้นช้ำเกินไปนะคะ เพราะมันอาจตายได้
การปลูกมะเขือเปราะ
การเตรียมพื้นที่ก่อนปลูก เป็นเรื่องที่เกษตรกรจะต้องคำนึง พื้นที่สำหรับการปลูกมะเขือเปราะจะต้องมีการไถพรวนหน้าดินถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อจะได้พลิกหน้าดิน และตากดินไว้ก่อนประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อที่จะได้ฆ่าเชื้อโรคไปในตัวและแสงแดดจะเข้าทำลายเชื้อจุลลินทรีย์ต่างๆ ที่คอยทำร้ายต้นกล้าตอนลงดิน จากนั้นค่อยดำเนินการไถพรวนดินอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงนี้ล่ะค่ะ เกษตรกรสามารถโรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินควบคู่ไปด้วยเลย ด้วยอัตราส่วนของปูนขาว 50 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่
จากนั้นค่อยยกแปลงสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร จากนั้นทำการหว่านปุ๋ยคอกอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำต้นกล้ามาลง ตามด้วยรดน้ำ แต่ทั้งนี้ไม่ควรรดน้ำในปริมาณที่มากจนเกินไปนะคะ เนื่องจากความชื้นอาจทำให้รากของต้นมะเขือเปราะเน่าและเป็นโรคตายได้ในที่สุด
การเตรียมหลุมปลูก
ในการเว้นระยะระหว่างปลูก เนื่องจากมะเขือเปราะเป็นพืชที่มีขนาดพุ่มเล็กๆ ดังนั้นสามารถปลูกได้ในระยะใกล้ๆ ให้เว้นช่วงระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 100 เซนติเมตรและระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 50-70 เมตรก็เพียงพอแล้ว
ช่วงเวลาในการย้ายต้นกล้ามาปลูก
เกษตรกรจะต้องดำเนินการในช่วงที่แดดกำลังร่ม และไม่มีลม เนื่องจากต้นกล้าจะได้ไม่ต้องเหี่ยวเฉา หรือโดนลมที่อาจทำให้ลำต้นหักได้ อย่างลืมว่ามะเขือเปราะในช่วงนี้จะลำต้นที่เปราะบางเสี่ยงต่อการหักได้ เวลาที่เหมาะสมในการย้ายต้นกล้ามาลงแปลงประมาณบ่าย 3-4 โมงเย็น ก่อนที่จะนำต้นกล้าลงหลุมแนะนำให้มีการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกประมาณ 2-3 กำมือ จากนั้นค่อยย้ายต้นกล้ามะเขือเปราะที่มีอายุ 30 วันลงหลุม กลบด้วยดินให้พูนโคนหลุม
การให้ปุ๋ย
สำหรับการบำรุงลำต้นมะเขือเปราะนั้น เราจะไม่เน้นการให้ปุ๋ยเคมีมากนัก ส่วนใหญ่แล้วเน้นไปทางด้านปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักเสียมากกว่าในช่วงเวลาที่ทำการเตรียมแปลงในการเพาะปลุก แต่อย่างไรก็ตามอาจมีบ้างที่ใช้ปุ๋ยเคมีในการแซม เพื่อป้องกันต้นมะเขือเปราะขาดธาตุอาหาร และเพื่อได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ โดยเกษตรกรมักจะใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหลังจากที่ลำต้นลงดินไปได้ 3 สัปดาห์ ตามด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ แล้วจะใส่อีกรอบในช่วงเวลาที่ต้นมะเขืออกดอก โดยใช้สูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตราส่วนที่ใช้ 30 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ วิธีการหว่านให้หว่านบริเวณโคนต้นให้ทั่วระหว่างร่องแปลง ต้นละ 1 กำมือโดยประมาณ
การเก็บเกี่ยว
มะเขือเปราะสามารถดำเนินการเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 45 วันจะมีผลขนาดเท่ากับลูกมะนาว หรือขนาดใหญ่กว่าเหรียญ 10 บาทเล็กน้อย ในการเก็บเกี่ยว 1 เดือนสามารถทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 8 ครั้ง และหากมีการดูแลที่ดี มีการบำรุงอย่างต่อเนื่องอาจมีการเก็บเกี่ยวได้มากถึง 10-12 เดือนต่อการปลุก 1 ครั้ง