หลักการตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อบริษัทอะไรดี

หลายๆ คนเมื่อจะตั้งบริษัท จะหนักใจกับการตั้งชื่อบริษัทอย่างไรดี ไม่แพ้กับนั่งกลุ้มใจเรื่องการตลาดเลยทีเดียว การตั้งชื่อบริษัทที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณดูแตกต่างจากคู่แข่งทางธุรกิจ และยังช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับบริษัทได้อีกด้วย ถึงแม้ชื่อบริษัทอาจจะไม่ได้มีผลโดยตรงกับการทำงานของบริษัท หรือเพิ่มยอดขายของคุณ แต่เราก็ควรพิจารณาหลัการต่อไปนี้ เมื่อเริ่มคิดจะตั้งชื่อบริษัท เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่งนะครับ

ให้ความสำคัญกับชื่อบริษัท

การตั้งชื่อบริษัท หรือสินค้านั้นเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะคนอื่นจะรู้จักสินค้าคุณ ก็มาจากชื่อบริษัท หรือชื่อสินค้านี่แหล่ะ เหมือนคนต้องมีชื่อ และมันจะเป็นชื่อที่คุณจะต้องใช้ในการทำการตลาดด้วย ชื่อบริษัทมีผลต่อภาพลักษณ์และจุดยืนในตลาด ดังนั้นอย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ นะครับ

หลีกเลี่ยงการเล่นคำจำยากในชื่อ

การเล่นคำมากไป หรือใช้คำแผลงๆ อาจจะทำให้ลูกค้าจำยาก การใช้คำที่ผวนได้จะส่งผลในด้านลบต่อศีลธรรมอันดีงาม และอาจโดนวิพากษ์วิจารณ์ได้ ควรตั้งสั้นๆ กระชับได้ใจความจะดีกว่าครับ หรือเราอาจจะให้คนอื่นช่วยอ่านออกเสียง หากอยากใช้ชื่อบริษัทที่แปลกๆ หรือใช้ภาษาท้องถิ่น ลองให้คนอื่นอ่านออกเสียงดูว่า เขาได้อ่านง่ายหรือออกเสียงถูกหรือไม่ ชื่อบริษัทที่ดีนอกจากสื่อความหมายได้ดีมีเอกลักษณ์แล้ว ยังต้องสามารถทำการสะกดและเขียนได้ง่ายอีกด้วย เพราะหลายครั้งชื่อที่ทำการเขียนและสะกดยากมักจะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นตามมาในภายหลังได้อยู่บ่อยครั้ง เช่น การทำเอกสารติดต่อต่างๆ การทำสัญญากรซื้อขายกับกิจการที่เป็นคู่ค้าของทางบริษัท รวมถึงการเขียนเช็คสั่งจ่ายมายังบริษัทของเราด้วยเพราะอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เช่น บริษัทล้านนา กับบริษัทลานนา มีการอ่านออกเสียงที่เหมือนกันมาก จนบางทีแทบจะออกเสียงเหมือนกันอาจสร้างความเข้าใจผิดขึ้นมาได้ นอกจากนี้แล้วยังอาจมีปัญหาในการนำชื่อไปจัดทำเว็บไซต์ของทางบริษัทที่เป็นภาษาอังกฤษด้วยเพราะไม่รู้จะสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไรอีกต่างหาก

ไม่จำเป็นต้องใช้อักษรย่อ

การใช้ตัวอักษรย่อให้กับชื่อบริษัท อาจจะทำให้การโฆษณา หรือสื่อสารง่ายขึ้น แต่ในบริษัทขนาดเล็กคงไม่มีกำลังทางด้านการเงินมากพอที่จะคอยบอกกลุ่มเป้าหมายว่าชื่อบริษัทนี้มีความหมายอย่างไร ดังนั้นให้ใช้ชื่อเต็มที่ไม่ต้องยาวนักจะดีกว่า เพื่อให้เกิดการจำได้ในตอนแรกก่อนครับ

เน้นชื่อให้มีจุดเด่น

คุณสามารถตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการของคุณที่คิดว่าเด่นเป็นจุดขายให้บริษัท คิดง่ายๆ ว่า “บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะเท่านั้นที่ลูกค้าต้องการ” เช่น ทำธุรกิจคาร์แคร์ ก็อาจจะใช้ช

ไม่ควรใช้ชื่อให้ใกล้เคียงบริษัทที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น กรณีของนาย Victor Moseley ที่เมืองอลิซาเบท รัฐเคนตักกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ใช้ชื่อ Victor’s Secret เป็นชื่อร้านขายของขวัญสำหรับผู้ใหญ่ และชุดชั้นในสตรี เมื่อฝ่ายกฏหมายของ Victoria’s Secret ร้านชุดชั้นในสตรีชื่อดังของสหรัฐ พบเข้าจึงได้ยื่นหนังสือฟ้องร้านของนาย Victor ในข้อหาละเมิดชื่อบริษัท แม้เขาจะรีบเปลี่ยนชื่อเป็น Victor’s Little Secret ก็ยังโดน Victoria’s Secret ฟ้องอยู่ดี เพราะถึงจะเปลี่ยนแล้ว ชื่อก็ยังใกล้เคียงกันอยู่มาก ทางที่ดีเลี่ยงนะครับ เรามาสร้างแบรนด์ด้วยชื่อของเราดีกว่าครับ

ตั้งชื่อเผื่อวันข้างหน้า

ธุรกิจขนาดเล็กหลายแห่งคิดว่าจะดำเนินธุรกิจแต่เพียงในระดับอำเภอหรือจังหวัดเท่านั้น แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าชื่อบริษัทจะต้องจำกัดด้วยสถานที่ที่คุณตั้งบริษัทเท่านั้น เช่น ร้านส้มตำ หัวหิน เพราะมีที่ตั้งอยู่ที่หัวหิน เมื่อในอนาคตมีลูกค้าที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์จากทางร้านเพราะเห็นว่ามีคุณภาพดี เกิดยกเลิกความตั้งใจอย่างกะทันหันเพราะเห็นว่าทางร้านอยู่ไกลขณะที่ตัวเองอยู่ที่กรุงเทพ จึงทำการยกเลิกการซื้อและหันไปซื้อจากร้านที่ใกล้กว่าเอามาทำเป็นแฟรนไชส์ จึงถือเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างโดยใช่เหตุเพราะคุณอาจขยายกิจการไปจังหวัดอื่น หรือทั่วประเทศเลยก็ได้ ฉะนั้นใช้ชื่อที่เป็นกลางๆ มีเอกลักษณ์ดีกว่าครับ เผื่อในอนาคตคุณมีลู่ทางขยายกิจการ คุณก็เอาชื่อเดิมไปใช้ต่อได้เลย เช่นชื่อ ร้านส้มตำ แซ่บสุดๆ การใช้ชื่อสถานที่นำมาเป็นชื่อของบริษัทเป็นสิ่งที่ควรทำการหลีกเลี่ยงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะกิจการอาจจะเจริญก้าวหน้าไปในอนาคต

หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อตัวเอง

เจ้าของบริษัทหลายท่านมักจะใช้ชื่อตัวเองตั้งเป็นชื่อร้าน หรือชื่อบริษัท เช่น ร้านทองต่างๆ ที่เถ้าแก่จะใช้ชื่อตัวเองมาตั้ง ข้อเสียคือหากคุณวางแผนจะขายกิจการในอนาคต ชื่อร้านที่เป็นตัวบุคคลเช่นนี้ไม่ดึงดูดใจผู้ซื้อเลยเมื่อเทียบกับบริษัทที่สร้างชื่อจากสินค้าหรือบริการ เพราะถ้าเค้าซื้อร้านคุณต่อเมื่อเค้าเปลี่ยนชื่อใหม่ คนเดิมจะจำไม่ได้ เพราะเห็นว่าเป็นร้านใหม่ ทำให้คนเข้าซื้ออาจจะน้อยลง ทั้งๆ ที่ทำเลเดิม แต่อย่างชื่อเช่น ร้านทอง The best golden อันนี้เป็นชื่อกลางๆ เมื่อขายแล้ว เจ้าของใหม่ ไม่ต้องเหนื่อยกับการสร้างแบรนด์ใหม่

ตั้งชื่อที่เอาไปทำเว็บไซต์ได้ง่าย

ผู้บริโภคนั้นโดนกรอกหูกรอกตาด้วยชื่อบริษัทร้านค้าทุกวันอยู่แล้ว งานของคุณคือต้องเลือกชื่อที่ผู้บริโภคจะจำได้ง่าย ชื่อเว็บไซท์ควรเป็นชื่อเดียวกับบริษัทและพยายามอย่าขีดเส้นระหว่างคำ เพราะมันจำยาก เช่น คุณตั้งชื่อบริษัทว่า สุรเดชรับสร้างเว็บไซต์ เวลาคุณจะไปจดโดเมนทำเว็บคุณต้องใช้ สุรเดชรับสร้างเว็บไซต์.com ซึ่งมันจำยาก เราอาจจะจะลองตั้งชื่อบริษัทว่า make web cool เวลาเอาจดโดเมนจะได้ใช้ชื่อว่า makewebcool.com ซึ่งมันจะพิมพ์เข้าง่าย จำง่ายกว่ากันเยอะเลย

ลองตรวจดูว่าไม่มีชื่อซ้ำ

ถ้าเราจะตั้งชื่อบริษัทให้ดีทั้งทีควรใช้เวลาลองตรวจดูว่าไม่มีคนอื่นใช้ก่อนอยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีก็อาจะปรับชื่อให้คล้ายๆ กันหากว่าไม่ใช่ธุรกิจที่คล้ายกัน แต่ทางที่ดีผมว่าไม่คล้ายใครเลยจะดีที่สุด ดีกับการสร้างแบรนด์ของคุณด้วย ดีกับการหลีกเลี่ยงที่จะมากล่าวหาเราว่าใช้ชื่อพ้องกับเค้าด้วย ซึ่งคุณสามารถค้นหาและไปจองชื่อนิติบุคคล ได้ที่เว็บไซท์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ที่เว็บ www.dbd.go.th ย้ำนะครับว่า ตรวจสอบให้ละเอียดเลยนะครับ จะได้ไม่มีการผิดพลาดในภายหลังครับ

เมื่อชื่อบริษัทไม่ดี อย่าลังเลในการเปลี่ยนชื่อบริษัท

หลายบริษัทเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในการตั้งชื่อบริษัทกับมีความลังเลที่จะรีบดำเนินการแก้ไข บางบริษัทถึงกับปล่อยเลยให้มันผ่านไป ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดวิธีมากๆ เพราะถ้าคิดกันถึงหลักเหตุผลแล้ว กับชื่อธุรกิจคุณยังไม่สามารถแก้ไขได้ แล้วในอนาคตปัญหาที่ใหญ่กว่านี้คุณจะสามารถแก้ปัญหาให้ผ่านลุล่วงไปได้อย่างไร วิธีการที่ดีที่สุดเมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับชื่อบริษัทไม่ว่าจะเป็นชื่อซ้ำ การสะกดผิด ตีความผิดไปจากที่ต้องการ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาทางการตลาดที่ผู้บริโภคไม่สามารถจำชื่อบริษัทเราได้ก็แล้วแต่ ควรรีบที่จะดำเนินการแก้ไขในทันทีอย่าได้รีรอ เพราะการที่คุณสามารถแก้ไขได้เร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากเท่านั้นนั่นเอง

สรุป

สำหรับบทความนี้เราก็คงทราบถึงหลักการตั้งชื่อบริษัท จะตั้งชื่อบริษัทอะไรดี ซึ่งการตั้งชื่อบริษัทจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ และหน้าเก่า ไม่ควรที่จะมองข้ามละเลยในจุดตรงนี้ไป โดยชื่อบริษัทที่ดีต้องมีองค์ประกอบในด้านต่างที่มีความชัดเจน ทั้งในเรื่องความหมาย เอกลักษณ์ จุดเด่น การอ่านออกเสียง รวมไปถึงการสะกด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทของคุณสามารถจดจำได้ง่ายในสายตาความคิดของผู้บริโภค และคู่ค้าทางธุรกิจของคุณอีกด้วย ถ้าคุณปล่อยปะละเลยในจุดนี้ไปอาจจะสร้างปัญหาให้ธุรกิจของสะดุดได้นะครับ

เอาหล่ะครับ ตอนนี้เราก็ลองไปดูชื่อบริษัทของเรานะครับว่าดีหรือยัง สะกดยากหรือเปล่า ซ้ำกับใครหรือเปล่า ชื่อโดเมนเวลาพิมพ์ดูเว็บไซต์สะกดยาก ทำให้สะกดถูก สะกดผิดหรือเปล่า ซึ่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็มีผลกับธุรกิจของเราเหมือนกัน การจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องเก็บให้ได้ในทุกรายละเอียดครับ เราจะได้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจครับ

error: Content is protected !!