วิธีปลูกสับปะรด พร้อมคำแนะนำในการขายสับปะรด

สับปะรดเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่หลายคนชื่นชอบ มีคุณสมบัติ และประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ทั้งช่วยป้องกันโรคต่างๆ และนำมาแปรรูปได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะกวน เชื่อม อบแห้ง ในรูปแบบของแยม หรือคั้นทานเป็นน้ำผลไม้ อร่อยชื่นใจ วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงการปลูกและดูรักษาสับปะรดให้มากขึ้นกันดีกว่า

สำหรับต้นสับปะรดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในร้อนแห้ง แล้ง ในดินที่ปนดินทราย ผลจะมีขนาดใหญ่กว่าลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาวแข็งแรงมีคุณสมบัติในการกักน้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีเส้นใยที่แข็งมาก ส่วนเปลือกจะแข็งมีประกอบได้ตาอยู่รอบๆ เนื้อจะมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว ชุ่มน้ำ

พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกกันทั่วไปจะเป็นปัตตาเวีย และพันธุ์ภูเก็ต ทุกวันนี้บ้านเรามีพันธุ์นางแล ภูแล เพชรบุรี ศรีราชา ขายแล้ว

สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกสับปะรด

1.อยู่ในเกษตรเศรษฐกิจสับปะรด
2.เป็นพื้นที่ราบหรือพื้นที่ดอน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร และมี่ความลาดเอียงอยู่ที่ 1-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์
3.เป็นสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ไม่มีน้ำท่วมขังและห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
ลักษณะของดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกสับปะรด
มีลักษณะเป็นดินร่วนปนดินทราย สามารถระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับกลาง โดยมีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 และที่สำคัญหน้าดินจะต้องมีความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

สภาพภูมิอากาศ

ต้องเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนกระจายอย่างสม่ำเสมอ 1000-1500 มิลิกรัมต่อปี อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ 24-30 องศาเซลเซียส และมีแสงแดดค่อนข้างจัด

แหล่งน้ำ

ในการเลือกสถานที่เพาะปลูกสับปะรดจะต้องดูรวมไปถึงแหล่งน้ำที่เพียงพอ และจะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากสารอินทรีย์ มีสารพิษเจือปน
1.สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำแนะนำให้ปลูกในช่วงฤดูฝน สำหรับเกษตรกรที่ปลูกในช่วงนี้ให้ปลุกด้วยหน่อ
2.ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำให้ทยอยปลูกได้ทั้งปี และควรปลูกด้วยจุก เพื่อเป็นการกรระจายการผลิต

การเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูก

1.ในพื้นที่ที่เคยปลูกสับปะรดมาก่อนให้ไถสับใบและต้นทิ้งไว้ประมาณ 2-3 เดือนและค่อยไถกลบอีกครั้งหนึ่ง
2.สำหรับพื้นที่ที่ไม่เคยปลุกมาก่อนให้ทำการไถครั้งหนึ่งแล้วตากหน้าดินประมาณ 7-10 วัน พรวน 1-2 ครั้งจากนั้นให้ดำเนินการยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร
3.สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ จะต้องเพิ่มการทำร่อง เพื่อที่จะได้ไว้สำหรับการป้องกันการชะล้างหน้าดิน

วิธีการปลูกสับปะรด

1.การปลูกด้วยหน่อ เริ่มต้นด้วยการคัดหน่อที่มีขนาดเดียวกันเพื่อปลูกในแปลงเดียวกัน เวลาเก็บเกี่ยวจะได้เก็บเกี่ยวในเวลาไล่ๆ กัน โดยหน่อจะมี 3 ขนาดให้ได้ทำการเลือก ไม่ว่าจะเป็นหน่อขนาดเล็ก น้ำหนักอยู่ที่ 300-500 กรัม หน่อขนาดกลาง 500-700 กรัม และหน่อขนาดใหญ่ 700-900 กรัม เมื่อได้หน่อสับปะรดมาแล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกินไว้
2.การปลูกด้วยจุก สำหรับการปลุกด้วยจุดให้คัดเลือกจุกที่มีขนาด 180 กรัมขึ้นไป และช่วงก่อนปลุกจะต้องมีการชุบสารป้องกันโรครากเน่า หรือต้นเน่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

การดูแลรักษา

ธาตุอาหารหลักที่สับปะรดต้องการคือ N P และ K ในแต่ละฤดูการผลิต โดยเกษตรกรจะต้องให้
1.ไนโตเจน 6-9 กรัมต่อต้น หรือจะใช้ปุ๋ยยูเรีย 116-169 กิโลกรัมต่อไร่
2.ฟอสฟอรัสP2 O5 ในอัตราส่วน 2 – 4 กรัมต่อต้น / ทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต
3.โพแทสเซียมK2 O ในอัตราส่วน 8-14 กรัมต่อต้น อาจใช้โพแทสเซียมคลอไรด์เสริมก็ได้

การให้น้ำต้นสับปะรด

สำหรับการให้น้ำต้นสับปะรดในช่วงฤดูฝน หากมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องให้น้ำเพิ่ม แต่สำหรับฤดูแล้งเป็นเป็นช่วงที่ฝนกำลังทิ้งช่วงนั้น ควรให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ลิตรต่อต้น และหลังใส่ปุ๋ยครั้งสุกท้าย และไม่มีฝน เกษตรกรจำเป็นที่จะต้องให้น้ำอีกครั้งเพื่อที่ต้นสับปะรดจะได้ใช้ปุ๋ยได้หมด

การให้น้ำในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวจะต้องให้ก่อนและหลังการออกดอก ค่อยหยุดในช่วง 15-30 วันก่อนการเก็บเกี่ยว

ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

1.การเก็บเกี่ยวสำหรับสับปะรดที่ส่งยังโรงงาน จะต้องดูที่ความสุกแก่ตามมาตรบาน และที่สำคัญต้องห้ามใช้สารเคมีในการเร่งเพื่อที่สับปะรดจะได้สุกก่อนกำหนดอย่างเด็ดขาด
2.สับปะรดสำหรับบริโภคสด ในส่วนนี้เกษตรกรสามารถดำเนินการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ตาสับปะรดเริ่มเปิด 2-3 ตา หรือสังเกตหากมีผิวเปลือกเป็นสีเหลืองประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

วิธีการเก็บเกี่ยว

สำหรับสับปะรดที่จะต้องนำส่งโรงงานแนะให้เกษตรกรใช้มือหักโดยไม่ต้องเหลือก้าน แล้วค่อยหักจุกออก แต่สำหรับสับปะรดบริโภคใช้มีดตัดก้านยาวติดผลประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ต้องหักจุกออก

ต้นตอหลังการเก็บเกี่ยว

สำหรับต้นตอสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 2-3 ครั้งหลังการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรจะต้องมีการตัดต้นสับปะรดระดับเหนือดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยตัดใบเหลือเพียง 10 เซนติเมตร ใช้ต้นและใบสับปะรดที่ตัดออกปกคลุมหน้าดินเพื่อรักษาความชื้น และป้องกันการงอกของวัชพืช ในส่วนของหน่อสามารถหักไปขยายพันธุ์ต่อได้เหลือไว้เพียงต้นตอเท่านั้น การปลูกสับปะรดไม่ได้ยากอย่างที่คิด ดูแลง่ายและรายได้งามอีกด้วยนะครับ

error: Content is protected !!