กล้วยเล็บมือนาง หนึ่งในผลไม้ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สารพัดประโยชน์ที่ได้อยู่คนไทยมาแสนนาน ไม่มีใครที่ไม่คุ้นเคยกับกล้วยกันใช่มั้ยละคะ ดังนั้นวันนี้เราลองมาศึกษาวิธีการปลูก ดูแลรักษากล้วยเล็บมือนางกันดีกว่า บางครั้งเพื่อนๆ คนไหนได้ไอเดียเก๋ ในการกล้วยไปสร่างรายได้งามๆ ด้วยการแปรรูป ไม่ง่าใครก็สามารถทำได้ และมันก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด สำหรับเกษตรกรมือใหม่หัดปลูก อย่างเราๆ
กล้วยจัดได้เลยว่าเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างร้อนชื้น ซึ่งเหมาะสมเป็นอย่ามากสำหรับการปลูกในบ้านเรา หากปลูกในพื้นที่หนาวจนเกินไป จะทำให้หยุดการเจริญเติบโต การออกดอก ออกผลผลิตก็น้อยลงตามไปด้วย
ใบกล้วยเล็บมือนางมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ไม่ค่อยทนทานต่อแรงลม อาจทำให้มีการแตกจนเป็นฝอย ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลต่อต้นกล้วยไม่น้อยเลยนะคะ เพราะจะมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้ลำต้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้เท่าที่ควร ดังนั้นแนวทางแก้ไข เกษตรกรควรปลูกไม้อื่นเพื่อใช้เป็นแนวกั้นลม
สภาพพื้นดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนางสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีลักษณะตะกอนธาร หรือที่เรารู้จักกันว่า ดินน้ำไหนทรายมูล เป็นดินที่มีลักษณะร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และอากาศได้เป็นอย่างดี ในการจัดเตรียมดินให้มีอากาศที่หมุนเวียนได้ดีนั้น สำหรับดินเหนียวให้เกษตรกรเพิ่มปุ๋ยคอก ในส่วนนี้จะช่วยให้ดินร่วนและโปร่งมากขึ้น
ระยะในการปลูกกล้วยเล็บมือนาง
เนื่องจากล้วยเล็บมือนางเป็นพืชที่มีใบยาว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องใช้พื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะไม่สามารถปลูกได้ในระยะที่ใกล้กัน เพราะจะทำให้ใบเกยกัน ซ้อนกัน ลำต้นอาจได้รับแสงแดดได้ไม่ดีเท่าที่ควร และที่สำคัญการดูแลรักษาจัดเป็นเรื่องที่ลำบาก
ทั้งนี้นะยะห่างของต้นกล้วยเล็บมือนางจะต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะปลูก และความสามารถในการดูแลของเกษตรกรด้วย รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตว่าในการต้องการเก็บเกี่ยวประมาณกี่ครั้ง ถ้าเป็นครั้งเดียวปลูกแบบถี่ๆ ไปได้เลยค่ะ แต่ถ้าต้องการเก็บเกี่ยวได้หลายครั้งจำเป็นที่จะต้องเว้นระยะห่าง เพื่อให้กล้วยเล็บมือได้แตกหน่อ
การปลูกกล้วยเล็บมือนาง
1.เริ่มขุดหลุมขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร ตากดินที่ขุดออกมาเป็นระยะเวลา 4-5 วันทั้งนี้เพื่อให้ดินแห้ง และเป็นการฆ่าเชื้อโรคในดินไปในตัว
2.จากนั้นให้เอาดินชั้นบนที่ตากไว้รองในก้นหลุม ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วลงไปให้สูงขึ้นมาประมาณ 20 เซนติเมตร
3.นำหน่อกล้วยที่ได้จักเตรียมไว้ลงปลูกกลางหลุม แล้วเอาดินในส่วนที่เหลือกลบลงไปกดดินให้แน่น
4.ในการปลูก เกษตรกรจะต้องสังเกตให้ยอดหน่อสูงกว่าระดับดินประมาณ 10 เซนติเมตร และจะต้องหันแผลของหน่อให้อยู่ในทิศทางเดียวกันให้หมด จะได้สะดวกในการทำงาน และดูแลรักษาของเกษตรกรเอง
การกำจัดหน่อกล้วยเล็บมือนาง
เมื่อได้ปลูกกล้วยได้สักระยะหนึ่ง ประมาณ 4-6 เดือน กล้วยที่เกษตรกรได้ทำการปลูกนั้นจะเริ่มมีการแตกหน่ออ่อน จะเรียกหน่อเหล่านี้ว่าหน่อตาม จะต้องมีการเอาหน่อออกบ้าง เพื่อไม่ให้มาแย่งอาหารจากต้นแม่ เก็บไว้ 1-2 หน่อเพื่อพยุงต้นแม่เวลาที่มีลมแรงและเพื่อใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในรุ่นถัดไปก็เพียงพอแล้ว
สำหรับวิธีการกำจัดหน่อเกษตรสามารถใช้จอบหรือเสียมในการแซะลงไป หรือใช้มิดที่คมและสะอาดคว้านหน่อที่อยู่เหนือดินออกไป จากนั้นใช้นำมันก๊าด หรือสารหยุดการเจริญเติบโตหยอดที่จุด ไม่แนะนำให้มีการแซะหน่อ หรือกำจัดหน่อในช่วงเวลาที่กล้วยเล็บมือนางออกดอก เพราะมันอาจส่งผลและกระกระเทือนต่อผลผลิตได้
การให้ปุ๋ยกล้วยเล็บมือนาง
ก่อนอื่นเลยนั้นเกษตรกรจะต้องทำความเข้าใจก่อนเลยว่าการปลูกกล้วยเล็บมือนางนั้น จะให้ผลผลิตได้มากหรือน้อยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารและน้ำที่เพียงพอ ซึ่งกล้วยเล็บมือนางเองต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก โดยจะต้องมีการบำรุงด้วยการใส่ปุ๋ย ทังปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี โดยระยะแรกในการปลูก 2 เดือนแรก จะต้องให้ปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยธาตุไนโตรเจนค่อนข้างมาก และให้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง เดือนที่ 3-4 ตามด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ ½ กิโลกรัม สำหรับเดือนที่ 5-6 ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตราส่วน ½ กิโลกรัม
การค้ำยันให้กับต้นกล้วยเล็บมือนาง
สำหรับกล้วยเล็บมือนางมักเจอปัญหาผลดกและมีหวีเป็นจำนวนมาก โดยจะมีลำต้นที่ค่อนข้างเล็ก ถ้าไม่ได้มีการค้ำยันไว้ อาจทำให้ต้นลมได้ และอาจทำให้เครือหัก ดังนั้นเกษตรจะต้องค้ำบริเวณโคนเครือกล้วยไว้โดยการใช้ไม้ไผ่ หรือไม้ที่เป็นง่าม
การคลุมถุงกล้วยเล็บมือนาง
สำหรับการปลูกกล้วยเพื่อการส่งออก แนะนำให้มีการคลุมถุง โดยการใช้ถุงพลาสติกสีฟ้า ขนาดใหญ่ และยาวกว่าตัวเครือกล้วย โดยการเจาะรูขนาดเล็กๆ และเปิดปากถุงเพื่อที่อากาศจะได้เข้าไปถ่ายเทได้ เพราะไม่อย่างนั้นทำให้กล้วยเน่าเสียได้