วิธีปลูกขิง พร้อมคำแนะนำในการขายขิง

บทความนี้ก็จะเป็นเรื่องของเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ที่พ่อครัวแม่ครัวจะต้องมีติดเอาไว้เสมอ นั่นคือก็คือ ขิง นั่นเองครับ บทความก็จะเป็นการอธิบายถึงวิธีการปลูกขิง ว่าเริ่มต้นปลูกยังไง และการขายขิง ว่าขายกันอย่างไร

ลักษณะทั่วไป

ขิงเป็นพืชล้มลุก ที่มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง แต่ภายในเป็นสีเหลืองนวล จะมีการแทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบไปด้วยกาบ หรือโคนหุ้มซ้อนกัน

ลักษณะของใบจะเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว เป็นรูปหอกเกลี้ยงๆ ความกว้างอยู่ที่ 1.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร หลังใบห่อจีบเป็นรูปร่าง โคนใบสองแคมจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม

พันธุ์ขิงของไทย

– ขิงใหญ่ จะมีแง่งใหญ่ มีข้อห่าง และมีเนื้อละเอียด เสี้ยนเนื้อน้อย ความเผ็ดปานกลาง เนื้อข้างในดูแล้วไม่มีสี หรือถ้ามีก็จะเป็นสีที่อ่อนจาง ตาขิงจะออกกลมมน ขิงใหญ่เหมาะสำหรับทานเป็นขิงอ่อนสดๆ หรือจะทำเป็นขิงดองก็ได้
– ขิงเล็ก หรืออีกชื่อคือ ขิงเผ็ด จะมีแง่งที่เล็กกว่าขิงใหญ่ ข้อถี่และสั้น เนื้อมีเสี้ยนค่อนข้างเยอะ ขิงเล็กเป็นขิงที่มีรสชาติ เผ็ดจัด ถ้าลองลอกเปลือกอก จะเห็นเป็นสีน้ำเงิน หรือน้ำเงินอมเขียว ตาขิงมีลักษณะแหลม ขิงเล็กนิยมนำมาใช้ทำยา ลแะทำขิงแห้ง ขิงเล็กไม่นิยมในการปลูกขาย

การขยายพันธุ์

สำหรับการขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก หรือดินเหนียวปนดินทราย อีกหนึ่งวิธีคือการขยายพันธ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิธีการนี้อาจมีต้นทุนที่สูง แต่คุ้มค่า จะได้พันธุ์ที่ปลอดเชื้อ และโรคที่มากับท่อนพันธุ์ขิง

ลักษณะของดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกขิง

ขิงชอบดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำได้ดี แนะนำให้เป็นดินร่วนปนดินทรายหรือดินเหนียวปนดินทรายจะดีที่สุด ในการปลูกจะต้องมีการเตรียมดินปลูกให้มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับการปลูก ขิงสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจะกระทั่งมีความสูงประมาณ 1500 เมตร ชอบอากาศที่ค่อนข้างชื้นและมีอุณหภูมิที่สูงพอสมควร

การเตรียมพันธุ์ของท่อนขิง

การคัดเหง้า หรือพันธ์ขิงจะต้องเป็นขิงแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 10-12 เดือน เอามาผึ่งลมให้แห้ง แล้วหั่นเป็นท่อนๆ ยาวท่อนละ 2 นิ้ว มีตาประมาณ 2-3 ตา

วิธีการปลูกขิง

สำหรับการปลูกขิงด้วยวิธีการใช้เหง้า เกษตรกรมักใช้วิธีการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50-70 เซนติเมตร โดยร่องเองจะต้องมีความสูงอยู่ที 15-25 เซนติเมตร ในส่วนของความยาวนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของการเพาะปลูก สำหรับขั้นตอนในการปลูกขิงก็ไม่ยากครับ สามารถทำได้โดยวางท่อนพันธุ์ลงในหลุมลึกประมาณ 4-5 เซนติเมตร หลุมละ 1 ท่อน ระยะห่างระหว่างหลุมอยู่ที่ 25-35 เซนติเมตร

ฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกขิง

ช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม หากเกษตรกรทำการเพาะปลูกในช่วงนี้ จะสามารถเก็บเกี่ยวขิงอ่อนได้ประมาณเดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม สำหรับขิงแก่ สามารถปล่อยไว้และเก็บในได้ในเดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม

อีกหนึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกจะเป็นเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม หากมีการเพาะปลูกในช่วงนี้ เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวขิงแก่ได้ในช่วงเดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์

การดูแลรักษา

การปลูกขิง จะต้องมีการให้น้ำที่เพียง เพราะหากมีการขาดน้ำ และอยู่ในอุณหภูมิที่สูงจะทำให้เป็นขิงเป็นโรคใบไม้ และมีอาการเหี่ยวได้ โดยเฉพาะขิงที่มีแง่งขนาดเล็ก มีส่วนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แห้งตายในที่สุด ก่อนการเพาะปลูกเกษตรกรจะต้องมีการเตรียมการและวางแผนในส่วนนี้เป็นอย่างดี โดยการวางระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ สำหรับพื้นที่ที่อาศัยชลประทานอาจมีการจัดทดน้ำเข้าในสวน วิธีการสามารถควบคุมปริมาณสำหรับการเพาะปลูกได้

การให้ปุ๋ย

ก่อนอื่นต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า ขิง เป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต โดยปุ๋ยที่นำมาใช้ในแปลงปลูกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดหรืออาจใส่กากถั่วต่างๆ โดยจะมีการใส่ในขณะที่เตรียมดิน และหลังจากทีมีการปลูกขิงไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ขณะที่ขิงมีอายุได้ประมาณ 2 เดือน และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อขิงมีอายุ 4 เดือน
ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีถ้าไม่จำเป็นไม่แนะนำ ไม่ควรใส่ เพราะมันมีผลทำให้เกิดโรคเน่ามากขึ้นซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีจะใส่ก็ต่อเมื่อปลูกขิ่งจำนวนมากหลายๆไร่

การป้องกันกำจัดวัชพืช

ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในการปลูกขิง คือโรคและศตรูพืชบางชนิด จะคอยมาสร้างความเสียหายให้แก่ต้นขิงจำนวนไม่น้อยในแต่ละแปลง โดยเฉพาะโรคเน่าที่เกิดกับแง่งขิงใต้ดิน มักเกิดกับพื้นที่แฉะและมีน้ำขัง สำหรับการเพาะปลูกขิงดำ หรือขิงเผ็ดจะค่อนข้างที่คงทนได้ดีกว่าขิงหยวก
โรคที่พบบ่อยสำหรนับขิงได้แก่ โรคแอนแทรคโนส หรือที่เรารู้จักกันว่าโรคใบจุด สำหรับโรคนี้จะเกิดขึ้นจากเชื่อรา โรครากปมเกิดจากไส้เดือนฝอย โรคขิงเน่า ในส่วนนี้มีหลากหลายสาเหตุอาจเกิดจากแบคทีเรียและเชื้อรา

สำหรับเกษตรกรที่ทำการปลูกขิงจะต้องดูแลอย่างทั่วถึง และหมั่นตรวจสอบแปลงขิงอยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการวางแผนเพื่อป้องกันโรค หรือวัชพืชมาทำร้ายขิง หากมีเกิดการเสียหายจะต้องรีบจัดการอย่าปล่อยให้เกิดโรคระบาด โดยการย้ายที่ปลูก หรือหาพืชชนิดอื่นมาปลูกทดแทนเสียก่อน รวมไปถึงการนำท่อนพันธ์ไปแช่น้ำยากับเชื้อราก็สามารถลดความเสี่ยงในจุดนี้ได้ค่อนข้างมาก

การขายขิง

เมื่อเรามีสวนขิง และได้ทำการเก้บเกี่ยวแล้ว ต่อมาก็ถึงขั้นตอนการนำไปขาย ในที่นี้ ขอกล่าวถึงแบบขิงขายส่งนะครับ

– เมื่อเราถอนขิงอกจากไร้ หรือจากสวนแล้ว ก็ต้องนำมาแพ็กใส่ถุง ถุงละประมาณ 5 กิโลกรัม เพื่อเตรียมส่งขาย
– ในตลาดนั้นการแข่งขันสูง พ่อค้าแม่ค้าอาจจะขายตัดหน้า ตัดราคากันเอง
– การขายขิงแบบขายส่ง ส่วนมากการซื้อขายจะเป็นเงินผ่อนมากกว่า เป็นลักษณะบิลชนบิล และการค้าขายแบบนี้อาศัยการเชื่อใจกันมากกว่า หรือทำหรือค้าขายกันมายาวนานแล้ว
– สำหรับการขายปลีก พ่อค้าแม่ค้าในตลาดนั้นละที่ต่างต้องแย่งลูกค้าใต้ให้ได้มากที่สุด ส่วนตัวสินค้าก็คือ ขิงเหมือนกัน ราคาต้องถูกกว่า หรือถ้าขิงราคาเท่ากัน ขิงต้องสวยกว่า หรือขิงต้องใหญ่กว่า
– ข้อเสียของการขายขิง ก็คือขิงเป็นสินค้าที่เสียง่าย และผู้ซื้อก็เลือกของอย่างมากด้วย
– ตลาดสี่มุมเมือง เป็นตลาดที่แข่งขันกันมากอีกที่หนึ่ง ที่นี้จะเปิดเป็นรอบๆ ช่วงที่ค้าขายแบบขายส่งกันมากคือรอบดึก ตีหนึ่ง ขึ้นไป จะมีพวกพ่อค้าแม่ค้านำรถที่จะมาขนผักไปขายในตลาดต่างๆ ในกรุงเทพ มาซื้อขิงกัน ถ้าวางแผนการขายไม่ดี มีของเน่าเยอะก็ขายกันไม่ออกเลยก็มี เมื่อขายส่งไม่ได้ ก็จะมีลานผักให้เราได้ขายปลีกต่อจนเช้า 9 โมงเช้าเลยครับ
– การค้าขายสินค้าเกษตรที่เป็นผัก เราต้องเข้าใจธรรมชาติของสินค้าของเราด้วย คือ ของเน่าเสียง่าย และสินค้ามีมาขายกันเยอะ เช่น มากันเป็นรถสิบล้อ และพ่อค้าแม่ค้าต้องการหั่นเราคาเราอย่างเดียว คือซื้อของถูก แต่ไปขายแพง กดราคาเรา ประเภทที่ว่า คุณไม่ขายให้ฉัน คุณเอากับไปบ้านก็เสีย และสุดท้ายเมื่อเราเขายส่งที่ตลาด ขายไม่ได้ก็ต้องลดราคากันไป ของเน่าก็ต้องทิ้งไป
– ดังนั้นใครที่เป็นเกษตรกรที่ต้องการขายขิง หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ต้องระวังเรื่องที่สำคัญคือ เงิน และระบบบิลชนบิลที่พ่อค้าเดียวนี้ทำกัน ก็ต้องบริหารการเงินของเราให้ดีนะครับ

ตั้งแต่เดือนกรกฏาจนถึงเดือนกันยายน ขิงอ่อนสวยๆ ก็จะเริ่มออกสู่ตลาด เส้นทางของขิงก็จะไป 3 เส้นทาง คือ

– ขิงเข้าโรงงานดอง คือ ขิงที่ส่งเข้าไปโรงงานเพื่อดองทำเป็น ขิงดอง
– ขิงตลาด คือ ขิงที่ส่งขายในตลาดขายส่งใหญ่ๆ เช่น ตลาดไท ศรีเมือง สี่มุมเมือง
– ขิงแก่ คือปล่อยให้ขิงมีอายุมากขึ้น จนไปเป็นขิงแก่ ซึ่งก็สามารถนำไปขายส่งในตลาดได้เช่นกัน

ก็ขอให้ท่านผู้อ่านที่สนใจจะขายขิง ขายขิงจนร่ำรวยกันทุกท่านนะครับ

error: Content is protected !!